เชียงแสนหงส์ดำ
ลายเชียงแสนหงส์ดำ ในผ้าซิ่น “ตีนจก” เป็นผ้าทอมือเพื่อนำไปต่อเชิงผ้าถุง ชาวภาคเหนือคำว่า “จก” เป็นคำพื้นเมืองภาคเหนือ หมายถึง การล้วงเพราะในการทอผ้าชนิดนี้จะมีลักษณะการทอลวดลายบนผืนผ้าโดยใช้ขนเม่น หรือไม้แหลมจกหรือล้วงเส้นด้ายสีต่างๆ ขึ้นบนและลงล่าง ให้เป็นลวดลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกลักษณ์ของซิ่นเชียงแสนโบราณ ปรากฏลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ลายหงส์ดำ หรือหงส์เชียงแสน โดยรูปแบบลวดลายของตัวหงส์ สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากลวดลายปูนปั้นประดับเรือนซุ้มโขง (ซุ้มประตูทางเข้าในเขตพุทธาวาสหรือวิหาร ประดับด้วยลวดลายปูนปั้นเป็นรูปสัตว์ในป่าหิมพานต์สัญลักษณ์แทน ป่าหิมพานต์ตามคติจักรวาล) ที่แพร่หลายไปทั่วล้านนาโดยเป็นอิทธิพลที่ส่งผ่านมาจากการเผยแผ่ศาสนาพุทธ สู่สังคมล้านนา ถือเป็นลวดลายที่เก่าแก่พบลักษณะร่วมของลวดลายดังกล่าวของผ้าโบราณในพื้นที่ต่างๆ ของภาคเหนือในประเทศไทย

ภูมิภาค : ภาคเหนือจังหวัด : เชียงรายกรรมวิธีผลิต : จก
ลักษณะเด่น
ลายและสีที่สื่อถึงความเป็นจังหวัดเชียงราย สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ภูมิปัญญา วัฒนธรรม โดย“ลายเชียงแสนหงส์ดำ” มีลักษณะเป็นสีม่วงเชียงรายเป็นลายสีผ้า ซึ่งมีความเหมาะสมที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดในการผลิตผ้าได้หลากหลาย ตลอดจนพัฒนาลวดลายให้สามารถนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้อีกด้วย

ข้อมูลผู้ประกอบการ
- นายกฤตพงศ์ แจ่มจันทร์ ศิลปินผู้ออกแบบและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านผ้า
- นายกฤตดนัย สมบัติใหม่ ศิลปินเชียงรายและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านผ้า
- นายนครินทร์ น้ำใจดี อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
- นายศุภชัย ศรีธิ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านผ้านาสกาผ้าทอไท
- นางเบ็ญจมาส บุญเทพ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ
โทร : 081-8742007
อีเมล์ : [email protected]