Skip to main content

ปูรณฆฏาศรีทวารวดี

ปูรณฆฏาศรีทวารวดี

ลาย “ปูรณฆฏาศรีทวารวดี”(ปู-ระ-นะ-คะ-ตา-สี-ทะ-วา-ระ-วะ-ดี) เป็นลายผ้าที่สื่อความหมายถึง
จังหวัดนครปฐมเป็นดินแดนอารยธรรมสมัยทวารวดีที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งสภาพแวดล้อม พืชพรรณ
ธัญญาหาร มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
๑) ลายหลัก คือ ลายหม้อน้้าปูรณฆฏะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์มงคลที่มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต
หมายถึง การกําเนิดชีวิตที่มีความสมบูรณ์ มั่งคั่ง โดยลวดลายดังกล่าวปรากฏอยู่บนเหรียญตราและ
ประติมากรรมประดับบนโบราณวัตถุสมัยทวารวดี
๒)ลายประกอบ คือกวางหมอบ อันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของความเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา
ผสมกับลายเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์

Image
  • ภูมิภาค : 
    ภาคกลาง
  • จังหวัด : 
    นครปฐม
  • กรรมวิธีผลิต : 
    จก
    มัดหมี่
  • ประเภทผ้า : 
    ผ้าไหม
Video file

ลักษณะเด่น

ลวดลาย “ปูรณฆฏาศรีทวารวดี” หรือลายหม้อน้ำ ถือเป็นการสร้างสัญลักษณ์ของจังหวัดนครปฐมอีกทางหนึ่งโดยสื่อสารผ่านทางจินตนาการจากประวัติศาสตร์ที่รุ่งเรืองอายุนับพันปี ซึ่งในพื้นที่ตำบลโพรงมะเดื่อ ยังมีกลุ่มชาวบ้านที่ยังคงอนุรักษ์การทอผ้าพื้นเมืองไว้อย่างเหนียวแน่น

Image

ข้อมูลผู้ประกอบการ

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะวรรณ ปิ่นแก้ว ประธานสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  2. อาจารย์กฤติยา แก้วสะอาด อาจารย์ประจำสาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • นางสาวอรพร คัมภีรศาสตร์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ
    โทร. 08 1870 9812