Skip to main content

ลายหมากเบ็ง (เบญจลักษณ์แห่งบึงกาฬ)

ลายหมากเบ็ง (เบญจลักษณ์แห่งบึงกาฬ)

ลายหมากเบ็ง (เบญจลักษณ์ของบึงกาฬ) เป็นลายผ้าที่ได้รับการพัฒนาต่อยอด เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดบึงกาฬ ที่สะท้อนสภาพทางภูมิศาสตร์ วิถีชีวิต วัฒนธรรมและความเชื่อความศรัทธาตำนานพญานาคของชุมชนลุ่มน้ำโขงที่อิงกับพุทธศาสนา ประกอบไปด้วย 5 สิ่ง มาผสมผสานเป็นลายผ้า ได้แก่แม่น้ำโขง พญานาค หินสามวาฬ หมากเบ็ง และดอกสิรินธรวัลลี โดยการวางลายล่างสุดเป็นสายน้ำโขง เหนือสายน้ำมีพญานาค 9 เศียร หันหน้าออกซ้ายขวาลำตัวคลุมหินสามวาฬ 2 แถว ที่วางลักษณะก้างปลา โดยระหว่างเศียรของพญานาคทั้ง 2 มีต้นสิรินธรวัลลีออกดอกบานสะพรั่งอยู่บนสุด ถัดมาเป็นขันหมากเบ็งวางเชื่อมระหว่างลายไปเรื่อยๆ
โดยสีผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดบึงกาฬ คือ “สีม่วง-ขาว” หมายถึงสีประจำจังหวัดบึงกาฬ โดยสีม่วง เป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งบริบูรณ์ ร่ำรวย รุ่งโรจน์ และความมหัศจรรย์ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความดี ความมีคุณธรรม

Image
  • ภูมิภาค : 
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • จังหวัด : 
    บึงกาฬ
  • กรรมวิธีผลิต : 
    มัดหมี่
Video file

ลักษณะเด่น

ผ้ามัดหมี่ลายหมากเบ็ง ซึ่งคนอีสานในแถบลุ่มแม่น้ำโขงนิยมนำหมากเบ็งมาบูชาถวายพระ ในวันพระ หรือวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา ดังนั้น การนำลายหมากเบ็งมารังสรรค์เป็นลายผ้าประจำจังหวัด จึงถือว่าเป็นภูมิปัญญาอันยอดเยี่ยม ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม และสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดบึงกาฬได้เป็นอย่างดี

Image

ข้อมูลผู้ประกอบการ

กลุ่มทอผ้ามัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ
  1. สํานักวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ
  2. สภาวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ
  3. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศูนย์การศึกษาบึงกาฬ
  4. องค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ
  5. เทศบาลเมืองบึงกาฬ
  6. หอการค้าจังหวัดบึงกาฬ
  7. สื่อทีวี บุญมาทีวี
  8. นางชมภูศรี บุรีมาตย์ อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี สาขาแฟชั่นออกแบบและดีไซต์
  • นายกีรดิษฐ์ อุทรัง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
    โทร 081-7521335