ลายผ้าจวนตานี
ผ้าจวนตานี หรือผ้ายกตานี เป็นผ้าพื้นเมืองดั้งเดิมแบบหนึ่งของปัตตานี และจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์คือมีล่องหรือลวดลายตามชายผ้า หรือที่ริมผ้า บางครั้งจึงเรียกว่า "ผ้าล่องจวน" ช่างทอผ้าชาวเมืองปัตตานีรุ่นเก่า ๆ เรียกผ้าดังกล่าวว่า "จูวา" จูวา หมายถึงลวดลายที่ปรากฏอยู่บริเวณชายผ้าทั้งสองด้าน หากลวดลายวางเป็นแนวอยู่ในช่องขนาน มีลักษณะเป็นร่องริ้วก็เรียกว่า "ล่องจูวา" ลายของจูวาส่วนอื่นเป็นลายที่ใช้กรรมวิธีมัดหมี่ รูปแบบของลายจูวามีหลากหลายลักษณะ ผ้าที่เป็นลายจูวาเต็มตลอดทั้งผืน เรียกกันว่า "ผ้าลีมา" จัดเป็นผ้าชั้นสูง ต้องใช้ความประณีตและราคาแพงสาหรับกรณีที่เอาลายจูวาไปทาเป็นลายผ้าที่ตาแหน่งสะโพก(ปาต๊ะ) ก็จะเรียกว่าผ้า "ปาต๊ะจูวา" หากเป็นโสร่งก็เรียกว่า "ผ้าโสร่งปาต๊ะจูวา"

ภูมิภาค : ภาคใต้จังหวัด : ปัตตานีกรรมวิธีผลิต : มัดหมี่ประเภทผ้า : ผ้าไหม
ลักษณะเด่น
สีสันสวยงาม สะดุดตา เชิงผ้าจะมีสีแดงเข้ม มีลวดลายวิจิตรพิสดาร ผ้าจวนตานี ซึ่งมีรากศัพท์จากภาษามลายู “จูวา-ตานี” มีความหมายว่า ร่อง หรือ ทาง เป็นผ้าที่มีเอกลักษณ์ลวดลายการถักทอเฉพาะถิ่น ซึ่งเป็นผ้าโบราณที่เคยสูญหายไปแล้วชั่วระยะเวลาหนึ่ง จากรายงานเรื่องผ้ากับวิถีชีวิตชาวไทยมุสลิมใน ๕ จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย ของ ผศ.จุรีรัตน์ บัวแก้ว นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) ระบุว่า พบหลักฐานว่ามีผ้าลีมา (จวนตานี) ซื้อขายกันในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรื่อยมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น“ในอดีตคนอิสลามไม่นิยมนุ่งไหม ผ้าไหมจะเป็นผ้าของคนมีเงินคนชั้นสูง ส่วนผ้าฝ้ายสามัญชนคนธรรมดาจะนุ่งห่มกัน เพราะผ้าไหมจะมีราคาแพง แต่ตอนนี้เป็นชนชั้นกลางที่นิยมนุ่งห่ม โดยมีการส่งเสริมให้ผลิตฝ้าย เนื่องจากมีราคาต่ากว่า ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดาเนินทอดพระเนตรผลงานวิจัย เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๒ และทรงมีพระราชเสาวนีย์ว่า “ผ้าไหมลีมาสวยงามมาก สมควรที่จะค้นคว้าทดลองต่อไป”

ข้อมูลผู้ประกอบการ
- ผ้าลายจวนตานี ดั้งเดิมไม่ปรากฏผู้คิดค้นที่แน่ชัด
- นางสุภชา สมทรง
โทร ๐๘ ๑๘๗๔๙๕๑๘
อีเมล์ [email protected]