ลายดอกสารภี
- ดอกสารภี: ดอกไม้มงคล เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพะเยา
- เกสร : ด้านในเป็นใจกลางของดอกสารภี จำนวน 9 อัน หมายถึง 9 อำเภอ ในจังหวัดพะเยาที่รวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ล้อมรอบด้วยคลื่นสายน้ำกว๊านพะเยาและขุนเขา
- กลีบดอกสารภี: (คล้ายรูปหัวใจด้านนอก) จำนวน 10 กลีบ (กลีบดอกสารภี จำนวน 5 กลีบใช้เทคนิคการทอผ้า “การขิด” สะท้อนภาพ) หมายถึง การคิดค้นลายขึ้นในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ สื่อถึงปณิธานของพระองค์ท่าน ในการ “สืบสานรักษา ต่อยอด” และรูปหัวใจ หมายถึง การหลอมรวมหัวใจของคนจังหวัดพะเยา การออกดอกสารภี จะมีลักษณะเป็นกระจุก/พวง บ่งบอกถึงความรัก ความสามัคคีของคนจังหวัดพะเยาและมีกิ่งก้านที่แข็งแรง

ภูมิภาค : ภาคเหนือจังหวัด : พะเยากรรมวิธีผลิต : ขิด
ลักษณะเด่น
จังหวัดพะเยา มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดพะเยา จำนวน 11 ชาติพันธุ์ ได้แก่ไทยวน ไทลื้อ ไทใหญ่ ไทยจีน ไทยอีสาน ลาวเวียง ภูไทหรือผู้ไท ม้ง เมี่ยน(เย้า) ลัวะ และลีซู หรือลีซอ ผ้าทอ ผ้าพื้นเมือง ที่ใช้สวมใส่ในชีวิตประจำวันจะมีความผูกพันเกี่ยวโยงกับวิถีชีวิต ความเชื่อ พิธีกรรม ที่ได้รับการถ่ายทอดและสืบสานกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของแต่ละชาติพันธุ์ ซึ่งแต่ละชาติพันธุ์มีลักษณะผ้าประจำถิ่นที่โดดเด่น มีรูปแบบและลวดลายที่แตกต่างกัน การออกแบบลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดประจำจังหวัดพะเยา ภายใต้หลักแนวคิดเรื่องราว ความสวยงาม ลวดลายของผ้าเป็นกลาง ไม่เน้นลายผ้าที่เป็นของชาติพันธุ์ใดชาติพันธุ์หนึ่ง และทุกๆชาติพันธุ์สามารถดำเนินการทอได้และเลือกใช้เทคนิคการทอ “ขิด”ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ใช้ระยะเวลาทอไม่นาน และต้นทุนไม่สูง ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง จึงได้ก่อกำเนิดลาย “ดอกสารภี” ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพะเยา

ข้อมูลผู้ประกอบการ
- นางหทัยทิพย์ เชื้อสะอาด
- นายคงฤทธิ์ เชื้อสะอาด
- เครือข่ายฝ้ายท้องถิ่น (ผามฝ้ายหลวงเชียงคํา)
- มหาวิทยาลัยพะเยา
- นางสาวสุภาวรรณ อินสี ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์ฯ
โทร. 081-870-3981
อีเมล์ + [email protected]