ลายจำปูนภูงา
การค้นหาลายผ้าประจำจังหวัดพังงา ใช้แนวคิดจากการถอดรหัส 4DNA และอัตลักษณ์ความเป็นพังงา คือ ๑. ดอกจำปูน - เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพังงา ดอกมี
สีขาวเป็นมัน มี ๓ กลีบ และมีกลิ่นหอมมาก ออกดอกทั้งปี ซึ่งผู้ออกแบบได้นำดอกจำปูนมาจัดวางในลักษณะหมุนรอบจุด สื่อถึงความรักและความสามัคคีของผู้คน
ในจังหวัด กึ่งกลางใช้รูปทรงสี่เหลี่ยม ๙ ชิ้น จัดเรียงต่อกัน แทนสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ แทนความหวังแสงสว่าง และความเจริญรุ่งเรือง ๒. เส้นคลื่น – สื่อถึงจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลอันดามัน
มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และการเคลื่อนไหว การพัฒนาอย่างไม่สิ้นสุด ๓. เขําช้ําง - ภูเขาช้างเป็นสัญลักษณ์ของเมืองพังงา รูปลักษณะคล้ายช้างหมอบ ๔. เขาตาปู- เป็นเขาหินปูนที่มีลักษณะเหมือนตาปู ตั้งอยู่กลางน้ำ เปรียบเป็นสัญลักษณ์หนึ่งเดียวในประเทศ การสอดแทรกลายขอเพื่อสื่อความหมายถึงการส่งมอบความรักและความสุขของผู้คน

ภูมิภาค : ภาคใต้จังหวัด : พังงาประเภทผ้า : ผ้ามัสลินผ้าป่าน
ลักษณะเด่น
ลายจำปูนภูงา (ภูงา คือชื่อดั้งเดิมของจังหวัดพังงา) พัฒนามาจากลายดอกจำปูนและเขาตาปู มีความหมายถึง ความสมบูรณ์ของทรัพยากรและความงดงามของธรรมชาติที่สร้างสรรค์ สู่การเป็น “พังงาเมืองแห่งความสุข”

ข้อมูลผู้ประกอบการ
- ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ประธานคณะทำงาน
- ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดพังงา คณะทำงาน
- ปลัดจังหวัดพังงา คณะทำงาน
- หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพังงา คณะทำงาน
- ท้องถิ่นจังหวัดพังงา คณะทำงาน
- ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดพังงา คณะทำงาน
- พัฒนาการจังหวัดพังงา คณะทำงาน
- อุตสาหกรรมจังหวัดพังงาคณะทำงาน
- ประชาสัมพันธ์จังหวัดพังงา คณะทำงาน
- ประธานอาชีวศึกษาจังหวัดพังงา คณะทำงาน
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา คณะทำงาน
- ประธานหอการค้าจังหวัดพังงา คณะทำงาน
- ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดพังงา คณะทำงาน
- นางนงนุช มายะการ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะทำงาน
- นายวัฒนา จินดาพล ผู้ทรงคุณวุฒิคณะทำงาน
- วัฒนธรรมจังหวัดพังงา คณะทำงานและเลขานุการ
- ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพังงา
- นางสาวสุภาวดี ไพพักตร์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพังงา
- นางกนกวรรณ รักษ์ทอง
โทร. 08 1874 0673