ลายดอกสัก
“ลายดอกสัก” สามารถนำมาใช้เป็นลายเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าของเมืองแพร่อย่างหลากหลายเทคนิค ได้แก่ ผ้าตีนจกแบบเมืองลอง, ผ้าปักลายแบบชาวกะเหรี่ยง, ผ้าบาติก ผ้าพิมพ์ลาย ผ้าเขียนลายด้วยเทคนิคการย้อมผ้าหม้อห้อม,ผ้าไหมยกดอกและผ้าด้นมือ โดยต้องใช้ โครงสร้างหลักของลายดอกสักที่เป็นเอกลักษณ์ นั่นคือ ลายดอกไม้ที่มี ๖ กลีบ ๖ เกสรดอกสักผลิดอกงามจากต้นไม้ที่เป็นมงคลอันทรงคุณค่าและมีมูลค่า ซึ่งมีความผูกพันกับชาวเมืองแพร่มาอย่างยาวนาน จึงสมควรเป็นลายผ้าประจำจังหวัด ที่จะสร้างความภาคภูมิใจและเกียรติภูมิ ให้กับคนเมืองแพร่สืบไป

ภูมิภาค : ภาคเหนือจังหวัด : แพร่กรรมวิธีผลิต : พิมพ์ลายจกขิดมัดย้อมด้นมือบาติกเขียนเทียนปักวาดลายเพ้นท์ประเภทผ้า : ผ้าไหม
ลักษณะเด่น
ลายดอกสัก เป็นการอ้างอิงจากลายผ้าตีนจกโบราณเมืองลอง จังหวัดแพร่ คือ “ลายผักแว่น”ซึ่งเป็นลายโบราณเก่าแก่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นลายตีนจกที่เรียกว่า ลายกุม (หมายถึง เทคนิคการจกหรือยกลาย ที่นำลายลักษณะเดียวกันมาผูกรวมเป็นลายเต็มทั้งผืน) โดยนำลักษณะการผูกลายแบบตีนจกลายผักแว่น มาประดิษฐ์เป็นลายดอกสัก ที่มีกลีบดอก ๖ กลีบ ๖ เกสร เลข ๖ ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์เป็นเลขมงคล เลข ๖ เป็นตัวแทนของดาวศุกร์ เกี่ยวข้องกับความสวยความงาม และศิลปะ ตามความเชื่อของชาวจีน

ข้อมูลผู้ประกอบการ
- นายนครินทร์ วรประดิษฐ์กุล ผู้คิดค้นลาย
- นายอัครพล อุดแบน ผู้ออกแบบลาย
- นางรัตนา สันตกิจ
โทร. 081-870-2827 - นางสาววิภากรณ์ ราชฟู
โทร. 081-874-1618
Eamil + wipakorn_mam@hotmailcom