ละกอนไส้หมู
ลายไส้หมู (ละกอนไส้หมู) ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มลวดลายที่แสดงเอกลักษณ์ของศิลปะลำปางอย่างชัดเจน ลายไส้หมูจัดอยู่ในกลุ่มลายขี้เมฆหรือลายเมฆไหล ซึ่งเป็นกลุ่มลายที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบจีนที่เข้ามามีบทบาทอิทธิพลต่อรูปแบบศิลปะล้านนาและได้มีพัฒนาการจนกลายเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตนจากรูปลักษณ์ของลวดลาย ในการขดม้วนไปมาในกรอบลายรูปแบบต่างๆ นอกจากนั้นแล้ว ยังได้มีการกำหนดสีอัตลักษณ์ลำปาง คือ สีแดงครั่ง สีเขียวมะกอก และสีดินภูเขาไฟ ซึ่งสีแดงครั่งและสีเขียวมะกอก เป็นสีที่นิยมใช้บนผืนผ้าของจังหวัดลำปางมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากจังหวัดลำปางเป็นแหล่งปลูกครั่งจำนวนมาก และมีดินจากภูเขาไฟแฝด คือ ภูเขาไฟดอยผาคอก-จำปาแดด และผาคอก-หินฟู ซึ่งไม่เหมือนที่ใดในประเทศไทยอีกด้วย

ภูมิภาค : ภาคเหนือจังหวัด : ลำปางกรรมวิธีผลิต : จกมัดย้อมทอพิมพ์ลานประเภทผ้า : ผ้าไหมประดิษฐ์ผ้าไหม
ลักษณะเด่น
ลายละกอนไส้หมู เป็นลายอัตลักษณ์ของจังหวัดลำปาง
เป็นลวดลายของสกุลช่างลำปางที่ปรากฏเฉพาะในเขตลุ่มน้ำวัง ลักษณะของลวดลาย
ต่อเนื่องตลอดชิ้นงาน ไม่ขาดช่วง และยังสามารถเลื่อนไหล ปรับรูปแบบให้มีความเป็น
สากลและร่วมสมัย สามารถนำไปใช้ต่อยอดในการผลิตผ้าได้หลากหลายเทคนิควิธีอาทิ
เทคนิคการจก การพิมพ์ลาย การปักทอ การมัดย้อม รวมถึงพัฒนาลวดลายให้สามารถ
นำไปใช้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้

ข้อมูลผู้ประกอบการ
- นายฐาปกรณ์ เครือระยา
- นายอัมรินทร์ เจะอาลี นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ
โทร 081-874-1603
Email + [email protected]