ผ้าซิ่นตีนจกลายปลาสังคโลก (ลายปลาคู่)
ผ้าทอตีนจก ๙ ลายเอกลักษณ์ประจำจังหวัดสุโขทัย ผ้าตีนจกทั้ง ๙ ลายมีความวิจิตรงดงามแฝงไว้ด้วยแง่คิดอันทรงคุณค่า เป็นลายตีนซิ่น ที่หญิงชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย ประดิดประดอยมาเป็นตีนซิ่นของ ตนเอง และด้วยภูมิปัญญาที่ชาญฉลาดจึงบังเกิดลวดลายตีนจกถึง ๙ ลายอันทรงคุณค่าและ เป็นเอกลักษณ์ของผ้าจังหวัดสุโขทัย โดยกระบวนการทำาลวดลายผ้าต้องใช้เทคนิคพิเศษ เรียกว่าการจก คือการเอาฝ้ายด้านล่างขึ้นด้านบนของเส้นยืน เวลาทอจะไม่มีการเก็บลาย ล่วงหน้า ผู้ทอต้องจำได้เองว่าจะทอผ้าในแถวต่อไปต้องจกอย่างไร เพราะการทอผ้า ในแต่ละแถวต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะ เพราะต้องนับเส้นด้ายแต่ละเส้น เพื่อใส่เส้นสี ในการจกเข้าไปทำให้การทอนานกว่าประเภทอื่นๆ ลายตีนจกทั้ง ๙ ลายคือลายหลักที่มีการทอขนาดใหญ่ที่สุดในผืนผ้าจะทอ อยู่ตรงกึ่งกลางของลายตีนจกและเด่นกว่าลายอื่นๆ ลายหลักที่เป็นลายเฉพาะของตีนจกหาดเสี้ยว แต่โบราณ มีอยู่ ๙ ลาย คือ ๑. ลายเครือน้อย ๒. ลายเครือกลาง ๓. ลายเครือใหญ่ ๔. ลายมนสิบหก ๕. ลายสิบสองหน่วยตัด ๖. ลายสองท้อง ๗. ลายน้ำอ่าง ๘. ลายสี่ขอ ๙. ลายแปดขอ

ภูมิภาค : ภาคกลางจังหวัด : สุโขทัยกรรมวิธีผลิต : จกด้วยมือ
ลักษณะเด่น
"เสร็จจากงานนา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก"
ความงามของลวดลายผ้าตีนจก ได้บอกเล่าถึงฝีมืออันประณีตของช่างทอผ้าผู้รักษาวิธีการทอมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ ได้สะท้อนให้เห็นถึงธรรมเนียมนิยมของสตรีในเมืองพระร่วง ที่โดดเด่นมากก็คือ ชาวไทพวน หาดเสี้ยว ในเมืองศรีสัชนาลัย ปัจจุบันกลายเป็นผ้าซิ่นตีนจกที่ได้รับความนิยมไปทุกภูมิภาคของประเทศไทย

ข้อมูลผู้ประกอบการ
- นายธชาพัฒน์ มาขวา
โทร 094-6236461
- นางสาวนิชาภา สมพันธ์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
โทร. 081-874-2698
Email + [email protected] , [email protected]