Skip to main content

ผ้าไหมหมี่ขิด ลายก้นหอย อารยธรรมห้าพันปี

ผ้าไหมหมี่ขิด ลายก้นหอย อารยธรรมห้าพันปี

มาจากแหล่งอารยธรรม มรดกโลกบ้านเชียง ที่เป็นอัตลักษณ์โดดเด่นของจังหวัดอุดรธานี “ลายก้นหอย” นำจากเครื่องปั้นดินเผา สร้างลายบนผืนผ้าแสดงถึงเรื่องราวของมรดกภูมิปัญญา วิถีชีวิต ความเชื่อ ความเจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปวัฒนธรรม และความสามัคคีของคนในชุมชน ที่บอกเล่าเรื่องราวของคนโบราณ ผสมผสานด้วยลายผ้าขิดของคนโบราณและคนอีสาน ภายใต้ผลงานชื่อ “ผ้าไหมหมี่ขิด ลายก้นหอย อารยธรรมห้าพันปี”

Image
  • ภูมิภาค : 
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • จังหวัด : 
    อุดรธานี
  • กรรมวิธีผลิต : 
    มัดหมี่คั่นสลับขิด
    ยกขิดลายก้นหอย
    เก็บขิด
  • ประเภทผ้า : 
    ผ้าไหม
Video file

ลักษณะเด่น

จุดเด่นของผ้าขิดจังหวัดอุดรธานี คือ ลายผ้าอันเป็นเอกลักษณ์ แบบ
โบราณประยุกต์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ของคนในชุมชนกลายเป็นผ้าจากภูมิ
ปัญญาไทย ได้แรงบันดาลใจการทอผ้าทอมือที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีต ที่
มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบัน จากการเห็นวิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรม ธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม มาสร้างสรรค์ เป็นลวดลาย เช่น พานเซี่ยนหมากของผู้เฒ่าผู้แก่ วิถี
การทำนา เคียว ขอเกี่ยวข้าว ลายขิดโบราณในหมอนขิด ลายหมี่ดอกโบราณ หมี่กง
ลายนาค มาประยุกต์สร้างในการทอ เพื่อการจำหน่ายสร้างรายได้ เป็นอาชีพเลี้ยง
ครอบครัวได้

Image

ข้อมูลผู้ประกอบการ

กลุ่มทอผ้าไหมหมี่ขิดบ้านศรีชมชื่น
  1. นางเสงี่ยมจิต จันทร์บุญ ประธานกลุ่มทอผ้าไหมหมี่ขิดบ้านศรีชมชื่น อำเภอหนองวัวซอ เป็นผู้นำลายลายอัตลักษณ์จาก ลายขดก้นหอย เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง (ลายวนเวียนซ้าย) มาสร้างสรรค์ประยุกต์ลวดลายขึ้นใหม่ ตามอัตลักษณ์การทอผ้าไหมขิด สลับมัดหมี่คั่นลาย ของกลุ่มทอผ้าไหมหมี่ขิดบ้านศรีชมชื่น
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรยุทธ เพ็งชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ลายอัตลักษณ์ ลายก้นหอย เป็นส่วนหนึ่งในผลงานการคิดค้น/ออกแบบลวดลายผ้าไว้ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรยุทธ เพ็งชัย ปรากฏในหนังสืออัตลักษณ์ลวดลายผ้าหมี่ขิดจังหวัดอุดรธานี เล่มที่ 1 ของ ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์และสิ่งทอ (FTCDC) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี หน้าที่ 47 - 48
  • นางสาวชลดา พิทักษ์สฤษดิ์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
    โทร. 081-874-7252
    Email [email protected]