ลายราชบุรี หรือลายกาบโอ่งนกคู่
ลายกาบโอ่งนกคู่ราชบุรี
- รูปหกเหลี่ยม หมายถึง โอ่งราชบุรี
- นกคู่กินน้ําฮ่วมเต้า เป็นอัตลักษณ์ไท-ยวนที่มี อยู่ในลายผ้าทุกตระกูล หมายถึง การอยู่คุ้มเหย้าคุ้ม เรือนคุ้มผัวคุ้มเมียบังเกิดความเป็นสิริมงคลต่อคู่การ ครองรักครองเรือน
- กาบ เป็นที่บ่งบอกความเป็นไท-ยวนราชบุรี
Image

ภูมิภาค : ภาคตะวันตกจังหวัด : ราชบุรีกรรมวิธีผลิต : จก
Video file
ลักษณะเด่น
วิธีทอผ้าลาย “ราชาบุรี” หรือ ลาย “กาบโอ่งนกคู่” จะมีความละเอียดซับซ้อน เริ่มตั้งแต่
การเตรียมเส้นยืนไว้บนหูก สอดเส้นยืนใส่ช่องฟันหวี เก็บตะกอ และเตรียมเส้นด้ายพิเศษสําหรับจก ผู้ทอผ้า
จะใช้ขนเม่นจก (ควัก) เส้นยืนยกขึ้น แล้วใช้ปลายแหลมของขนเม่นเกี่ยวเส้นด้ายเสริมสําหรับจกให้สอดไป
อยู่ข้างใต้เส้นยืนที่ยกขึ้น ดึงปลายเส้นจกดังกล่าวมาไว้ข้างบนของผ้า เมื่อจกลายในแถวเสร็จจึงเหยียบม้าไม้
ของหูกดึงตะกอแยกเส้นยืนให้ขึ้นลงห่างจากกัน พุ่งกระสวยนําเส้นพุ่งให้อยู่ระหว่างเส้นยืนบน
และล่างเกิดเป็นเนื้อผ้าลายขัดอัดเส้นจกให้แน่นอยู่กับที่ (การพุ่งเส้นพุ่งไปในระหว่างเส้นยืนบนและล่าง
เพื่อให้เส้นยืนทั้งสองขัดกันหนึ่งครั้ง เรียกว่า การทอหนึ่งสอด) สลับกันไปจนครบลายตามที่ต้องการ
Image

ข้อมูลผู้ประกอบการ
ศูนย์หัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้านราชบุรี
- นายธนกร สตใส ผู้ทรงคุณวุฒิ (เจ้าของแบรนด์ ตานีสยาม)
- ผศ. ปรียาพร ทองผุด อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
- คณะกรรมการพิจารณาลายผ้าประจำจังหวัดราชบุรี
- นางสาวทิพวรรณ งามพาณิชยกิจ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ
โทร 064-930-2070
Email : [email protected]