Skip to main content

ห้ามซักด้วยเครื่องซักผ้า

ลายริ้วทอง

“ ผ้าลายริ้วทองตามรอยเสด็จประพาสต้น” มีความเป็นมาที่ชาวสิงห์บุรีมีความภาคภูมิใจ ที่จะส่งเสริมและต่อยอดลายผ้าริ้วทองให้ได้รับความนิยมอีกครั้ง โดยผ้าจะเป็นสีจากเปลือก มะกล่ําต้น ซึ่งเป็นต้นไม้ประจําจังหวัดสิงห์บุรีและมีสีแดงคล้ายหมากสุก ซึ่งเป็นสีเอกลักษณ์ ของจังหวัดสิงห์บุรีสีแห่งนักรบ นักสู้โดยใช้สีทองที่เกิดจากการย้อมธรรมชาติด้วยเส้นไหมด้าย พุ่งสลับฝ้าย

ผ้าเหยียบลายลูกแก้ว

“ผ้าเหยียบลายลูกแก้ว” เพราะเป็นลายที่มีความสวยงามเหมือนลูกแก้ว มีเอกลักษณ์ทั้งลวดลายและวิธีการทอเฉพาะตัว มีลักษณะการทอแบบยกดอกตลอดทั้งผืน ภาคอีสานเรียกการทอยกดอกว่า การขิด มีการเก็บลวดลายไว้ที่ฟืมทอผ้าที่เรียกว่า ตะกอ หรือเรียกว่า เขา การทอผ้าเหยียบลายลูกแก้วที่ทำให้เกิดลวดลายเด่นชัดจะมีตั้งแต่ 4 ตะกอขึ้นไป แต่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จะนิยมทอ 4 ตะกอ เพราะจะได้ลายผ้าที่เหมาะสม พอดีตัว ลายไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป

ละกอนไส้หมู

ลายไส้หมู (ละกอนไส้หมู) ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มลวดลายที่แสดงเอกลักษณ์ของศิลปะลำปางอย่างชัดเจน ลายไส้หมูจัดอยู่ในกลุ่มลายขี้เมฆหรือลายเมฆไหล ซึ่งเป็นกลุ่มลายที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบจีนที่เข้ามามีบทบาทอิทธิพลต่อรูปแบบศิลปะล้านนาและได้มีพัฒนาการจนกลายเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตนจากรูปลักษณ์ของลวดลาย ในการขดม้วนไปมาในกรอบลายรูปแบบต่างๆ นอกจากนั้นแล้ว ยังได้มีการกำหนดสีอัตลักษณ์ลำปาง คือ สีแดงครั่ง สีเขียวมะกอก และสีดินภูเขาไฟ ซึ่งสีแดงครั่งและสีเขียวมะกอก เป็นสีที่นิยมใช้บนผืนผ้าของจังหวัดลำปางมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากจังหวัดลำปางเป็นแหล่งปลูกครั่งจำนวนมาก และมีดินจากภูเขาไฟแฝด คือ ภูเขาไฟดอยผาคอก-จำปาแดด

ผ้าลายสาเกต

ผ้าไหมลายสาเกต คำว่าสาเกต มาจากชื่อเมือง สาเกตนคร ซึ่งก็คือชื่อเมืองโบราณอันเป็นที่ตั้งของเมืองร้อยเอ็ดในปัจจุบัน ลายผ้าพัฒนามาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมของชาวเมืองร้อยเอ็ด เป็นลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ได้มีการรวมเอาลายผ้ามัดหมี่พื้นบ้าน 5 ลาย

เอื้องแซะ

"ลายเอื้องแชะ ราชินีกล้วยไม้หอมแห่งเมืองสามหมอก" มีลวดลายและความหมายดังนี้

ผ้าลายแก้วมุกดา

ผ้าไหมมัดหมี่ลายแก้วมุกดา เป็นการนำเอาลวดลายผ้าโบราณที่มีเอกลักษณ์และมีความหมายของจังหวัด จำนวน 5 ลาย มามัดเป็นลวดลายบนเส้นไหมและทอเป็นผืนผ้า แต่ละลายมีเอกลักษณ์และความหมายสำหรับจังหวัดมุกดาหาร

ลายดอกสัก

“ลายดอกสัก” สามารถนำมาใช้เป็นลายเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าของเมืองแพร่อย่างหลากหลายเทคนิค ได้แก่ ผ้าตีนจกแบบเมืองลอง, ผ้าปักลายแบบชาวกะเหรี่ยง, ผ้าบาติก ผ้าพิมพ์ลาย ผ้าเขียนลายด้วยเทคนิคการย้อมผ้าหม้อห้อม,ผ้าไหมยกดอกและผ้าด้นมือ โดยต้องใช้ โครงสร้างหลักของลายดอกสักที่เป็นเอกลักษณ์ นั่นคือ ลายดอกไม้ที่มี ๖ กลีบ ๖ เกสรดอกสักผลิดอกงามจากต้นไม้ที่เป็นมงคลอันทรงคุณค่าและมีมูลค่า ซึ่งมีความผูกพันกับชาวเมืองแพร่มาอย่างยาวนาน จึงสมควรเป็นลายผ้าประจำจังหวัด ที่จะสร้างความภาคภูมิใจและเกียรติภูมิ ให้กับคนเมืองแพร่สืบไป

ลายมัดหมี่คั่น

“ลายมัดหมี่คั่น” มีลักษณะเด่นคือ การออกแบบอย่างมีสุนทรียศาสตร์ มีการเชื่อมโยงระหว่างสาระทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม มีอัตลักษณ์โดดเด่น คือ ลายผ้าจะปรากฏลายมัดหมี่ตั้งแต่ ๗ ลายขึ้นไป บางผืนมีลายมัดหมี่มากถึง ๑๘ ลาย ทอสลับคั่นด้วยเส้นไหม/ฝ้ายหลากสีจำนวนถี่ๆ แบบฉบับเมืองหล่มเก่า เรียกว่า ห้องลาย หนึ่งห้องประกอบด้วยหมี่น้อย หมี่กลาง หมี่ใหญ่และสอดสลับมะไม (มะไม : ไหมสองสีเข็น ให้เกิดลวดลายบางถิ่นเรียกว่า เข็นควบ)

สุวรรณวัชร์

ลายผ้าสุวรรณวัชร์ คำว่า "สุวรรณ" หมายถึงวัดใหญ่สุวรรณาราม ซึ่งเป็นวัดที่มีศิลปกรรมที่สมบูรณ์ ของจังหวัดเพชรบุรี ส่วนคำว่า "วัชร์" แปลว่า เพชร หมายถึง จังหวัดเพชรบุรี ดังนั้นคำว่า "สวรรณวัชร์" จึงหมายถึง ผ้าจากลายวัดใหญ่สุวรรณาราม และเป็นผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดเพชรบุรี

ผ้าทอลายดอกปีบ

ลายดอกบุนนาค มีท่าจากต้นบุนนาค ต้นไม้ประจำจังหวัดพิจิตร บุนนาค เป็นต้นไม้ยืนต้น เนื้อแข็ง กลิ่นหอม ซึ่งมีดอกไม้เป็นเอกลักษณ์ ดอกสีขาว มีกลีบดอก 4 กลีบ ด้านในมีเกสรวงกลม สีเหลืองอมส้ม ผ้าทอลาย “ดอกบุนนาค” สามารถถักทอได้ทั้งผ้าฝ้าย ผ้าไหม หรือเส้นด้ายประดิษฐ์ ใช้การทอผ้าแบบกี่กระตุก มีการทอเป็นลวดลายที่ประณีต สวยงาม โดยนำลาย “ดอกบุนนาค” มาทอผสมผสานกับลายอัตลักษณ์ของแต่ละกลุ่มการย้อมสีผ้าทอ มีการย้อมสีทั้งแบบใช้สีเคมีและสีธรรมชาติที่สกัดจากดอกไม้หรือต้นไม้ในแต่ละท้องถิ่น เช่น สีของใบมะม่วง ขมิ้น เป็นต้น