ปูรณฆฏาศรีทวารวดี
ลาย “ปูรณฆฏาศรีทวารวดี”(ปู-ระ-นะ-คะ-ตา-สี-ทะ-วา-ระ-วะ-ดี) เป็นลายผ้าที่สื่อความหมายถึง
จังหวัดนครปฐมเป็นดินแดนอารยธรรมสมัยทวารวดีที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งสภาพแวดล้อม พืชพรรณ
ธัญญาหาร มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
๑) ลายหลัก คือ ลายหม้อน้้าปูรณฆฏะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์มงคลที่มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต
หมายถึง การกําเนิดชีวิตที่มีความสมบูรณ์ มั่งคั่ง โดยลวดลายดังกล่าวปรากฏอยู่บนเหรียญตราและ
ประติมากรรมประดับบนโบราณวัตถุสมัยทวารวดี
๒)ลายประกอบ คือกวางหมอบ อันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของความเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา