ลายเชียงแสนหงส์ดำ ในผ้าซิ่น “ตีนจก” เป็นผ้าทอมือเพื่อนำไปต่อเชิงผ้าถุง ชาวภาคเหนือคำว่า “จก” เป็นคำพื้นเมืองภาคเหนือ หมายถึง การล้วงเพราะในการทอผ้าชนิดนี้จะมีลักษณะการทอลวดลายบนผืนผ้าโดยใช้ขนเม่น หรือไม้แหลมจกหรือล้วงเส้นด้ายสีต่างๆ ขึ้นบนและลงล่าง ให้เป็นลวดลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกลักษณ์ของซิ่นเชียงแสนโบราณ ปรากฏลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ลายหงส์ดำ หรือหงส์เชียงแสน โดยรูปแบบลวดลายของตัวหงส์ สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากลวดลายปูนปั้นประดับเรือนซุ้มโขง (ซุ้มประตูทางเข้าในเขตพุทธาวาสหรือวิหาร ประดับด้วยลวดลายปูนปั้นเป็นรูปสัตว์ในป่าหิมพานต์สัญลักษณ์แทน ป่าหิมพานต์ตามคติจักรวาล) ที่แพร่หลายไปทั่