ลายดอกโสน
ผ้าลายดอกโสน เป็นลวดลายที่เกิดจากการนำดอกโสน ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสีฟ้า สีน้ำเงินของผ้ามาจากสีธงประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำมาออกแบบเป็นลวดลายผ้าดอกโสน มีชื่อจังหวัด “พระนครศรีอยุธยา” บนผืนผ้า
ผ้าลายดอกโสน เป็นลวดลายที่เกิดจากการนำดอกโสน ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสีฟ้า สีน้ำเงินของผ้ามาจากสีธงประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำมาออกแบบเป็นลวดลายผ้าดอกโสน มีชื่อจังหวัด “พระนครศรีอยุธยา” บนผืนผ้า
ผ้าจวนตานี หรือผ้ายกตานี เป็นผ้าพื้นเมืองดั้งเดิมแบบหนึ่งของปัตตานี และจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์คือมีล่องหรือลวดลายตามชายผ้า หรือที่ริมผ้า บางครั้งจึงเรียกว่า "ผ้าล่องจวน" ช่างทอผ้าชาวเมืองปัตตานีรุ่นเก่า ๆ เรียกผ้าดังกล่าวว่า "จูวา" จูวา หมายถึงลวดลายที่ปรากฏอยู่บริเวณชายผ้าทั้งสองด้าน หากลวดลายวางเป็นแนวอยู่ในช่องขนาน มีลักษณะเป็นร่องริ้วก็เรียกว่า "ล่องจูวา" ลายของจูวาส่วนอื่นเป็นลายที่ใช้กรรมวิธีมัดหมี่ รูปแบบของลายจูวามีหลากหลายลักษณะ ผ้าที่เป็นลายจูวาเต็มตลอดทั้งผืน เรียกกันว่า "ผ้าลีมา" จัดเป็นผ้าชั้นสูง ต้องใช้ความประณีตและรา
ลายผ้ารักบัว ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานจากตราสัญลักษณ์ คําขวัญ และความหมายของธง
ประจําจังหวัดปทุมธานี โดยมีแนวคิดในการออกแบบ คือ การนําเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอย่างดอกบัวหลวงที่เป็นดั่งชื่อจังหวัด รวงข้าวผลผลิต
ทางการเกษตรกรรมของจังหวัด ซึ่งหมายถึงพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ สายน้ําเจ้าพระยาที่เป็นแม่น้ํา คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน และยังเป็นแม่น้ําสายหลักที่หล่อเลี้ยงชาวปทุมธานีมาจนถึงทุกวันนี้ และความรักท้องถิ่น ความสามัคคีเป็นปึกแผ่น โดยไม่แบ่งแยกกลุ่มชนเชื้อสายต่าง ๆ
ลายหางกระรอกคู่ เป็นผ้าเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติไทยพันธุ์ เป็นผ้าลายริ้วที่สร้างลวดลายด้วยเส้นไหมต่างสีหรือเส้นไหมพิเศษทางเส้นพุ่ง โดยทอเส้นพุ่งด้วยไหมควบ 2 เส้น สลับกับการทอด้วยเส้นไหมสีพื้นช่วงละ 2 เส้น 4 เส้น ตามแบบแผน เส้นไหมที่ควบแล้วจึงเป็นเส้นประเล็กๆ เมื่อทอเป็นผืนผ้าแล้วจะปรากฎเป็นเส้นประเล็กๆ กระจาย คล้ายภาคคลื่นเล็กๆทั่วผืนผ้า ทำให้ดูนุ่มฟูราวปุยขนของหางกระรอกทำให้ดูคล้ายๆ หางกระรอก 2 ตัว วิ่งคู่กัน และมีความหมายสวยงามเป็นมันวาว
ผ้ายกเมืองนคร “ลายดอกพิกุล” เป็นลวดลายที่เลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งเป็นดอกไม้ คือ ดอกพิกุล
เป็นผ้าทอมือด้วยกี่กระตุก “ผ้ายกเมืองนคร” เป็นชื่อเฉพาะ หมายถึง ผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช
ที่ทอสืบกันมาแต่โบราณ ด้วยการทอยกเพิ่มลวดลายด้วยเส้นพุ่งพิเศษ ( Supplementary Weft )
ทําให้เกิดลายนูนบนผืนผ้า มีลายเชิงผ้าเป็นกรวยเชิงชั้นเดียวหรือกรวยเชิงซ้อนกันหลายชั้นและกรวยเชิงขนาน
กับริมผ้า โดยดัดแปลงลายอื่นมาเป็นลายกรวยเชิง วิธีการทอจะคัดเส้นยืนขึ้นลงเป็นจังหวะที่แตกต่างกัน
ตามลวดลายที่ต้องการแล้วใช้เส้นพุ่งพิเศษเข้าไป
การใช้ท่ายืนของคุณย่าโม มาออกแบบเป็นลายผ้า "ย่าโม" ท่ายืนถือดาบ มองด้านข้างเสมือนตัว K บ่งบอกถึงความแข็งแกร่งและมีรูปหัวใจ แสดงถึงความรักความสามัคคี K หันหน้าเข้าหากัน เป็น KO มาจาก Korat และสีเหลืองทองเป็นสีจากการผสมดอกดาวเรืองกับดอกสาร ซึ่งดอกดาวเรือง เป็นดอกไม้ประจำรัชกาลที่ 9 สื่อถึงความเจริญรุ่งเรือง ความก้าวหน้า และความสว่างไสว ดอกสาธรและต้นสาธร เป็นดอกไม้ และต้นไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ผ้ามุก นับว่าเป็นผ้าชั้นสูง ผู้ที่จะมีโอกาสได้สวมใส่ต้องเป็นภริยาของเจ้านายชั้นปกครองบ้านเมืองหรือเป็นข้าราชการพบเห็นข้าราชการครูของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวก็ทำเป็นชุดราชการผ้ามุก และนอกจากนั้นบุคคลสำคัญของประเทศภูฎานก็ใช้ผ้ามุกเป็นอาภรณ์สวมใส่ประดับกาย เป็นต้น ถือว่าผ้ามุกเป็นผ้าชั้นสูงก็เพราะจากความเชื่อที่เห็นเครื่องใช้ ลายมุกล้วนแต่เป็นเครื่องใช้ชั้นสูงมีความสำคัญในตัวเอง เช่น โต๊ะหมู่บูชาฝังมุก พานแว่นฟ้าฝังมุกพัดยศที่มีด้ามฝังลายมุก ฝักดาบเจ้าเมืองที่มีการฝังมุก เป็นต้น
ลาย “ปูรณฆฏาศรีทวารวดี”(ปู-ระ-นะ-คะ-ตา-สี-ทะ-วา-ระ-วะ-ดี) เป็นลายผ้าที่สื่อความหมายถึง
จังหวัดนครปฐมเป็นดินแดนอารยธรรมสมัยทวารวดีที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งสภาพแวดล้อม พืชพรรณ
ธัญญาหาร มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
๑) ลายหลัก คือ ลายหม้อน้้าปูรณฆฏะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์มงคลที่มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต
หมายถึง การกําเนิดชีวิตที่มีความสมบูรณ์ มั่งคั่ง โดยลวดลายดังกล่าวปรากฏอยู่บนเหรียญตราและ
ประติมากรรมประดับบนโบราณวัตถุสมัยทวารวดี
๒)ลายประกอบ คือกวางหมอบ อันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของความเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา