Skip to main content

ห้ามรีด

ลายราชวัตรโคม หรือราชวัตรดอกใหญ่

ผ้ายกลายราชวัตรโคมมีลักษณะโครงสร้างรวมอยู่ในรูปตารางสี่เหลี่ยมแนวตะแคง ทำนองเดียวกับรั้วราชวัตรสำหรับกำหนดขอบเขตมณฑลพิธี จึงสื่อถึงความหมายมงคลเปรียบประดุจรั้วราชวัตร นำมาซึ่งคุณงามความดี สิริมงคล และช่วยปกปักรักษาผู้สวมใส่

ผ้าขิดลายยศสุนทร หรือลายลูกหวาย

สีฟ้า หมายถึง สีประจำจังหวัดยโสธร
สีขาว หมายถึง สีของดอกหวาย มีลักษณะพิเศษคือ ดอกสีขาวจะยกสูงขึ้นมองเห็นเด่นชัด
ลายขิด หมายถึง ภูมิปัญญาของชาวบ้าน คือการทอขิดให้เป็นลาย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวจังหวัดยโสธร
ลูกหวาย หมายถึง ความชาญฉลาดของภูมิปัญญาชาวยโสธร ความหนักแน่น มั่นคง สามัคคี อ่อนโยน

แคนแก่นคูน

  1. ลายแคน หมายถึง สัญลักษณ์แทนความเจริญและสนุกสนาน เมืองแห่งหมอแคน ความสุขของชาวขอนแก่น
  2. ลายดอกคูน หมายถึง สัญลักษณ์ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น
  3. ลายพานบายศรี หมายถึง ความมีมิตรภาพ ประเพณีการผูกเสี่ยว และการยินดีต้อนรับผู้มาเยือนของประชาชนชาวขอนแก่น
  4. ลายขอ หมายถึง เป็นสัญลักษณ์แทนความอยู่ดีกินดี ความอุดมสมบูรณ์ของประชาชนชาวขอนแก่น
  5. ลายโคม หมายถึง การสืบทอดภูมิปัญญาวัฒนธรรมของชาวขอนแก่น
  6. ลายกง หมายถึง อาณาเขตบริเวณที่ได้รับการอารักขาให้เกิดความมั่นคง ปลอดภัย ทั้งด้านร่างกายจิตใจตลอดไป
  7. บักจับหรือหมากจับ หมายถึง ความรัก ความสามัคคี

ผ้ากาบบัว

ผ้ากาบบัว เป็นชื่อผ้าในวรรณกรรมโบราณอีสาน มีความหมายเหมาะสมสอดคล้องกับชื่อของจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อดูความหมายของ "กาบ" ตามพจนานุกรมฯ อธิบายไว้ว่า "น.เปลือกหุ้มชั้นนอกของผลหรือดอก และของต้นไม้บางชนิด ลอกออกได้เป็นชั้นๆ เช่น กาบมะพร้าว กาบหมาก กาบกล้วย โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น" โดยนัยแห่งคำอธิบายตามพจนานุกรมนี้ "กาบบัว" จึงหมายถึง เปลือกหุ้มชั้นนอกของดอกบัว มิใช่กลีบบัวที่หุ้มรอบเกสรบัวที่อยู่ชั้นใน ดังนั้น กาบบัว คือ กลีบบัวชั้นนอกสุดที่แก่จัดเกือบร่วงโรย

ลายอุทัยสุพรรณิการ์

  1. ลายดอกแก้ว คือ ผู้หญิงที่มีความสวยงามดั่งดอกไม้แต่มีความอดทนเข้มแข็ง
  2. ลายดอกตุ้ม คือ เครื่องประดับที่ผู้หญิงทุกคนต้องมีคือต่างหู
  3. ลายคอง คือ ให้ทำตัวเสมอต้นเสมอปลายอยู่ในทำนองคลองธรรมซื่อสัตย์
  4. ลายอ้อแอ คือ การอ่อนน้อม นุ่มนวล
  5. ลายกาบ คือ ขอบคุณกาบหมาก กาบพลู ที่คนโปราณใช้เป็นประจำ
  6. ลายขอ คือ เครื่องมือทำสวน ทำไร่ ทำนา ไม่ลืมบุญคุณจึงนำมาทอบนผืนผ้า
  7. ลายมะเขือผ่าโผง คือ พืชผักสวนครัวที่อุดมสมบูรณ์

ดอกประดู่ศรีอุตรดิตถ์

ลาย “ดอกประดู่ศรีอุตรดิตถ์” อันมีดอกประดู่ ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นลายอัตลักษณ์ของจังหวัดอุตรดิตถ์

รวงทอง

  1. ลายนกกระจิบ หมายถึง ดวงอาทิตย์หรือโคมไฟที่ส่องสว่างสู่ความรุ่งเรือง ความอุดมสมบูรณ์ ความเพิ่มพู ของผลผลิต ตลอดถึงการอยู่ดีกินดีของชาวจังหวัดอ่างทอง
  2. ลายรวงข้าวอ่างทอง หมายถึง วิถีชีวิตชาวนาเมืองแห่งเกษตรกรรม เมืองอู่ข้าวอู่น้ำ
  3. ลายรวงข้าวร้อยเรียงผูกพัน หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์การเป็นเมืองแห่งการเกษตรเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ และสื่อถึงความรักความสามัคคีของคนจังหวัดอ่างทองที่ร้อยเรียงผูกพันกัน
  4. ลายต้นสน คือ ชาวลาวเวียง ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในจังหวัดอ่างทองอย่างสันติสุข แสดงให้เห็นถึงความร่มเย็นของจังหวัดอ่างทองที่มีผู้คนมาอยู่อาศัยร่วมกัน
  5. ลายกลอง ซึ่งจังหวัดอ่

ผ้าขิดสลับหมี่

ผ้าขิดสลับหมี่ ลายดอกบัวหลวงเป็นดอกบัวบานและบัวตูม” ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด และสื่อถึงคำขวัญประจำจังหวัดหนองบัวลำภู นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน คำขวัญประจำจังหวัด ลวดลายดอกบัวหลวง คือดอกไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู สื่อถึง สีชมพู คือโทนสีประจำจังหวัดหนองบัวลำภู ฉะนั้นเมื่อรวมทุกสิ่งเข้าด้วยกัน จึงรังสรรค์ออกมาเป็นผ้าทอที่มีอัตลักษณ์ของจังหวัดหนองบัวลำภูอยู่อย่างครบถ้วน

ผ้าโฮล

ผ้าโฮล มีพัฒนาการมาจากผ้าปูม เป้นผ้าที่ใช้กันในหมู่ชนชั้นสูงในราชสำนัก มีความวิจิตร งดงาม ปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถสวมใส่ได้ โดยไม่ทิ้งภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในปี 2562

ลายริ้วทอง

“ ผ้าลายริ้วทองตามรอยเสด็จประพาสต้น” มีความเป็นมาที่ชาวสิงห์บุรีมีความภาคภูมิใจ ที่จะส่งเสริมและต่อยอดลายผ้าริ้วทองให้ได้รับความนิยมอีกครั้ง โดยผ้าจะเป็นสีจากเปลือก มะกล่ําต้น ซึ่งเป็นต้นไม้ประจําจังหวัดสิงห์บุรีและมีสีแดงคล้ายหมากสุก ซึ่งเป็นสีเอกลักษณ์ ของจังหวัดสิงห์บุรีสีแห่งนักรบ นักสู้โดยใช้สีทองที่เกิดจากการย้อมธรรมชาติด้วยเส้นไหมด้าย พุ่งสลับฝ้าย