Skip to main content

ซักด้วยเครื่องซักผ้าอุณหภูมิปานกลาง

ผ้าจกไทยวน ลายราชบุรี หรือลายกาบโอ่งนกคู่

การทอผ้าจกในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีการทอผ้าจกในภาคเหนือและภาคกลางรูปแบบ ลวดลาย สีสัน ของผ้าจก จะ แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นหรือเอกลักษณ์ของแต่ละเผ่าพันธุ์ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษผ้าจกของไทย หากแบ่งตามชนเผ่า จะพบว่ามีการทอผ้าจกตามชนเผ่าใหญ่ๆ ดังนี้
1) ผ้าจกไท-ยวน
2) ผ้าจกไท-พวน (ลาวพวน)
3) ผ้าจกไท-ลื้อ
4) ผ้าจกลาวครั่ง

ลายกาบโอ่งนกคู่ราชบุรี

ผ้าไหมหมี่ขิด ลายก้นหอย อารยธรรมห้าพันปี

มาจากแหล่งอารยธรรม มรดกโลกบ้านเชียง ที่เป็นอัตลักษณ์โดดเด่นของจังหวัดอุดรธานี “ลายก้นหอย” นำจากเครื่องปั้นดินเผา สร้างลายบนผืนผ้าแสดงถึงเรื่องราวของมรดกภูมิปัญญา วิถีชีวิต ความเชื่อ ความเจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปวัฒนธรรม และความสามัคคีของคนในชุมชน ที่บอกเล่าเรื่องราวของคนโบราณ ผสมผสานด้วยลายผ้าขิดของคนโบราณและคนอีสาน ภายใต้ผลงานชื่อ “ผ้าไหมหมี่ขิด ลายก้นหอย อารยธรรมห้าพันปี”

ลายตะขอสลับเอื้อ

“ผ้าขิด” เป็นผ้าทอมือที่มีการประยุกต์ลวดลายมาจากหมอนขิด ที่เชื่อว่าเป็นของสูง จึงนิยมใช้ในโอกาสสำคัญ ไม่นิยมมาทำเครื่องนุ่งห่ม หรือส่วนร่างกายต่ำกว่าเอวลงมา ผู้ใช้ฝ้ายลายขิด ถือเป็นมงคลแก่ตนเอง มีลายผ้ามากถึง 72 ลาย “ตะขอ” คือ ไม้ที่มีช่วงปลายงอ สำหรับเกี่ยวครุหรือถังสำหรับตักน้ำจากบ่อ หรือวัสดุที่มีลักษณะงอ ไว้สำหรับเกาะ เกี่ยว แสดงถึงความสามัคคีปรองดอง “เอื้อ” คือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ที่ซ้อนกันสามชั้นเป็นลายนูนหมายถึง ความเอื้อเฟื้อ ความเอาใจใส่ มีน้ำใจ ดังนั้นผ้าขิด“ลายตะขอสลับเอื้อ” จึงมีความหมายว่า มีความเอื้อเฟื้อ สามัคคี เกาะเกี่ยวเหนียวแน่นกันเป็นความหมายที่ดี ผู้ใช้ฝ้ายลายขิด ถ

ลายนาคใหญ่

ลายนาคใหญ่ (พญานาค 7 เศียร) หมายถึงความยิ่งใหญ่ความอุดมสมบูรณ์ ลายลักษณะหยิก หมายถึง แม่น้ำโขง

ลายดอกมะเกลือ

ลายดอกมะเกลือ ต้นมะเกลือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นทั้งพืชสมุนไพร และเป็นวัตถุดิบในการใช้ทำสีย้อมผ้า (ต้นมะเกลือ ยังมีความผูกโยงกับความเชื่อของสังคมไทย ดอกแทนความสุขกาย สบายใจ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ) ซึ่งดอกมะเกลือจะมี ๔ แฉก โดยลายดอกมะเกลือ ในต่างพื้นที่จะมีการเรียกชื่อลายต่างกันออกไป บ้างเรียกลายหน้ากระจก (โต๊ะเครื่องแป้ง จะมีบานกระจก 2 ข้าง) บ้างเรียก ลายดาว (ดอกดาว)

ลายก้ามปู

ผ้าซิ่นเก็บลายก้ามปู ของ “ครูเจี๊ยบ” หรือ นางสุพัตรา ชูชม ครูช่างศิลปหัตถกรรม ที่ได้รับการเชิดชูเกียรติ จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ในนาม ครูช่างศิลป์ประเภทเครื่องทอ (ผ้าซิ่นตีนจกไทยวน- เสาไห้สระบุรี) เป็นผ้าซิ่นที่แกะลวดลายการทอจากลายเก็บ (จก) ของผ้าเก่าอายุกว่า 250 ปี ที่ อาจารย์ทรงชัย วรรณกุล ปราชญ์ชาวไทยวนสระบุรี รุ่นที่ 5 ได้ทำการเสาะหาและเก็บรวบรวมไว้ตั้งแต่ครั้งยังมีชีวิตอยู่ โดยเก็บไว้ใน “หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวนสระบุรี” อัตลักษณ์ลวดลายตีนซิ่น ไทยวนสระบุรี จะใช้สีแดงเป็นหลักเสมอ ด้วยมีความเชื่อว่า “สีแดง” นั้นหมายความถึง สวรรคภูมิ ที่ชาวไทยวนเชื่อว่าสุดท้ายเมื่อสิ้นลมหายใจท

ลายสระแก้ว

ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดสระแก้ว “ผ้าลายสระแก้ว” 1.ลายปราสาทสด๊กก๊อกธม หมายถึง ปราสาทขอมโบราณ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่หนองเสม็ด หมู่ 9 ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว เดิมเรียกว่าปราสาทเมืองพร้าว เป็นโบราณสถานที่ใหญ่และสำคัญของจังหวัดสระแก้ว สร้างขึ้นด้วยหินศิลาแลง ตามลักษณะศิลปะขอมแบบคลัง-บาปวน สร้างเสร็จในคริสต์ศคตวรรษที่ 11 สมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 2.ลายผีเสื้อดาหลา หมายถึง ผีเสื้อกลางคืนที่มีขนาดใหญ่และมีความสวยงาม (Atlas moth) เป็นผีเสื้อที่อยู่ในวงศ์ (Saturniidae) ตัวหนอน กินใบดาหลาเป็นอาหาร มีการเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ และอนุรักษอ์ยู่ภายในโครงการศิลปาชีพศึกษาพัฒนาไหมไทยพ

ลายจักรี (ลายต้นแบบจากลวดลายเบญจรงค์)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประเทศไทยมีการติดต่อและเปิดรับวัฒนธรรมจากประเทศตะวันตกอย่างแพร่หลาย มีการทำเครื่องปั้นดินเผาและนิยมการพิมพ์ลายเขียนลาย เขียนสี ด้วยลวดลายพรรณพฤกษาหรือลายดอกไม้ที่มีสีสันสดใส โดยรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริ นำลวดลายดอกไม้มาเป็นลวดลายเบญจรงค์ไทยที่เป็นเอกลักษณ์ในกลุ่มลายพรรณพฤกษา และเรียกชื่อลายเครื่องเบญจรงค์ที่เขียนด้วยลายดอกเดซี่ว่า “ลายจักรี” ซึ่งลายจักรีบนเครื่องเบญจรงค์นั้นเป็นอีกหนึ่งลาย ที่ได้รับความนิยมจนมาถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ความหมายของดอกเดซี่ ยังเป็นดอกไม้ที่แสดงถึงความจริงใจ ซื่อสัตย์ และความรักอันบริสุทธิ์อีกด้วย

ลายสมุทราสุมามาลย์

ที่มาของชื่อลายผ้า สมุทราสุมามาลย์ ได้แรงบันดาลใจจากการเดินทางการเดินทางของต้นจิกทะเล เส้นทางในการเจริญเตินโตของต้นจิกทะเล พบว่า แพร่กระจายอยู่โดยรอบริมฝั่งชายเลน หรือริมทะเล เมื่อเจริญเติบโตพัฒนาจากดอก กลายเป็นผลจิกทะเล หากผลแก่จัดจะร่วงหล่นลงไหลไปตามสายน้ำ และเจริญเติบโตในพื้นที่อื่น การเจริญงอกงามผ่านสายน้ำริมชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ของพระสมุทรเทวา

ลายดอกดาวเรือง

ลวดลายมัดหมี่ ลายดอกดาวเรือง เกิดจากการประยุกต์ มาจากลวดลายโบราณ คือลายหมี หมากจับ และลายโคมเจ็ด โดยมีการนำเอาลวดลายดั้งเดิมมาจัดวางใหม่ ให้เกิดเป็นลายดอกดาวเรือง