Skip to main content

ซักด้วยเครื่องซักผ้าอุณหภูมิปานกลาง

ดาวน์บูดิงฟอสซิลสตูล

ลายดาวน์บูติงที่ปรากฏบนผืนผ้า เป็นลวดลายคล้ายซุ้มดอกไม้โบราณชนิดหนึ่งที่มีลักษณะ เป็นไม้เลื้อย โดยสำนักงานประวัติศาสตร์ประเทศมาเลเซีย ได้สันนิษฐานว่าดอกไม้ที่ปรากฏบนผืนผ้าคือ ดาวน์บูดิง (Daun Buding) (ดอกบูติง) มาจากภาษามลายู หรือ ดาวน์บูดี (Daun Budy) (ดอกบูดี) มาจากภาษาอินโคนีเซีย ดอกไม้ชนิดนี้พบมากในคาบสมุทรมลายู มีลักษณะคล้ายดอกสายหยุดดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม ใบมีลักษณะเป็นรูปหอก ปลายในแหลมหรือมีติ่งแหลมประเทศในแถบคาบสมุทรมลายนิยมนำดอกไม้ชนิดนี้มาทำเป็นซุ้มดอกไม้เพื่อใช้ในพิธีต้อนรับบ่าวสาวในงานแต่งงาน ลายฟอสซิล เป็นลายฟอสซิลหอยแบรคิโอพอต ในมหายุคพาลีโอโซอิก (อายุประมาณ 299-542 ล้านปี) ที

ผ้าทอเกาะยอ ลายราชวัตร

ผ้าทอเกาะยอมีการทอเป็นลายดอกชนิดต่างๆ เช่น ลายก้านแย่ง" ชื่อเติมคือลายคอนกเขาซึ่งเป็นลายที่สวยที่สุด ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า"ลายราชวัตร"แปลว่า" กิจวัตรหรือการ กระทำ" ผ้าทอเกาะยอมีการสั่งสอน สืบทอดต่อกันภายในครัวเรือนเรื่อยมาเป็นเวลาหลายร้อยปีจนปรากฎว่ามีเพลง กล่อมเต็กเก่าแก่หลายบทที่แสดงให้เห็นถึงค่านิยมและวัฒนธรรมการทอผ้าของชาวเกาะยอ

ลายสะเก็ดธรรม

ผ้า “ลายสะเก็ดธรรม”คือการลายผ้าโบราณมาผสมผสานกับลายผ้าที่เกิดจากแรงบันดาลใจ มามัดเป็นลวดลายและย้อมคราม ธรรมชาติบนเส้นด้ายและทอมาเป็นผืนผ้าอย่างประณีต โดยในแต่ละลายมีความหมายและอัตลักษณ์ของ จังหวัดสกลนคร โดยมีองค์ประกอบ จำนวน 5 ลาย 1. ลายดอกไม้ป่า (ดอกมณีเทวา) เป็นดอกไม้สีขาวที่บานสะพรั่งอยู่ ณ ลานหินสาวเอ้ อุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ อีกจุดหนึ่งของจังหวัดสกลนคร สื่อถึงแผ่นดินธรรม และความบริสุทธิ์ของธรรมชาติในจังหวัดสกลนคร 2.

ลายดอกฝ้ายเมืองเลย

ผ้าลายดอกฝ้ายเมืองเลย เกิดจากจินตนาการของช่างมัดหมี่ที่เลือกเอาดอกฝ้ายมาสร้างลวดลายบนผืนผ้า เพื่อสื่อความหมายถึง วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นจังหวัดเลย รูปต้นดอกฝ้าย ที่ประกอบด้วย ดอกตูม ดอกเล็กที่ซึ่งเพิ่งกำเนิดขึ้น ออกดอกเบ่งบาน ผลิแย้ม พร้อมเก็บเกี่ยว ประดุจครอบครัวชาวเมืองเลยที่อยู่พร้อมหน้าพร้อมตาในครอบครัว

ผ้ายกลายดอกพิกุล

ลายดอกพิกุล หมายถึง ผ้ายก หมายถึง ผ้าไหมที่ทอยกลวดลายให้นูนสูงขึ้นกว่าผืนผ้า โดยเลือกยกบางเส้นและข่มบางเส้น แล้วพุ่งกระสวย ไปในระหว่างกลางด้วยดิ้นเงินหรือดิ้นทอง ซึ่งเทคนิคในการทอยกให้เกิดลวดลายนี้เรียกว่า เทคนิคการยกดอก ผ้ายก เป็นผ้าโบราณที่อดีตใช้ในคุ้มเจ้าหรือในพระราชสำนักเท่านั้น ผ้าไหมยกดอก มีความหมายเดียวกับผ้ายก ต่างกันที่การใช้ไหมพุ่งอาจจะใช้เส้นไหมสีต่างๆ แทนเส้นดิ้นในการทอผ้า

ผ้าเอกลักษณ์ ลายดอกพิกุล

เป็นผ้าทอที่มีการออกแบบลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ ด้วยการนำเอาดอกพิกุลมาทอเป็นลวดลายลงบนผืนผ้า ซึ่งดอกพิกุลเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดลพบุรี สีพื้นน้ำเงินเป็นสีประจำจังหวัดลพบุรี จึงได้นำมาผสมผสานกันเป็นผ้าทอมัดหมี่ลพบุรีลายดอกพิกุลขึ้นมา

ลายผ้าตากะหมุก (ตาสมุก)

ลายผ้าตากะหมุก (ตาสมุก) เป็นผ้าที่มีเอกลักษณ์ในการทอ
โดยใช้เทคนิคการทอขัด เส้นสีเข้ม สลับกับเส้นสีอ่อน
โดยได้พัฒนามาจาก"กะหมุก (สมุก)" ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่
หรือใบตาล เป็นต้น มีรูปร่างและขนาดต่างกันใช้สําหรับใส่สิ่งของ

อินทนิล สินธุ์แร่นอง

อินทนิล ต้นไม้ประจำจังหวัดระนอง สื่อความหมายด้วยช่อใบเสมือนลมหายใจของคนระนอง โอบล้อมด้วยความจงรักภักดี ผ่านตัวอักษร “ร” ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลาง ให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม

ลายสร้อยดอกหมาก

“ลายสร้อยดอกหมาก ” หมายถึง ลายผ้าที่เกิดจากการมัดหมี่ โดยการนำลายโคมเก้า และโคมห้า มามัดซ้อนกัน แล้วนำไปย้อมและโอบหมี่ซ้ำเพื่อให้เกิดลวดลาย สีสัน แรเงา เด่นชัด ละเอียดสวยงามมากยิ่งขึ้น

ลายปะการังและท้องทะเล

สืบเนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวทางธรรมชาติระดับโลก เมื่อประมาณ ปีพ.ศ.2535 – 2540 นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาภูเก็ตและชื่นชอบการดำน้ำเพื่อชมความงามของท้องทะเล ดูปะการัง ปลาสวยงามตามเกาะต่างๆ อีกทั้งชายฝั่งภูเก็ตมีความสวยงาม จากกระแสของนักท่องเที่ยวนี้ทำให้เกิดความคิดในการสร้างลวดลายของท้องทะลภูเก็ต ได้แก่ กลุ่มลายปลาผีเสื้อ ลายปลาดาว ปลาโนรี ปลานกกระจิบ ปลาการ์ตูน และกลุ่มปะการัง ต่อมาได้ศึกษาลวดลายบนผ้าบาติกอย่างจริงจัง โดยได้ออกแบบลวดลายท้องทะเลบนผ้าบาติกให้กับส่วนราชการเป็นครั้งแรก เมื่อปีพ.ศ.