Skip to main content

ซักด้วยเครื่องซักผ้าอุณหภูมิปานกลาง

ลายดอกพะยอมเล็ก

ต้นพะยอมและดอกพะยอมเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนป่าพะยอม เนื่องจากไม้พะยอมมีอยู่มากมาย จนตั้งชื่อบ้านตามชื่อพันธุ์ไม้ว่า บ้านป่าพะยอม ต้นพะยอมเป็นต้นไม้ใหญ่ที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบลป่าพะยอม ชาวบ้านในสมัยก่อนใช้ไม้พะยอมในการก่อสร้างบ้านเรือน ดอกพะยอมมีสีขาวนวล ถึงสีเหลืองอ่อน มีกลิ่น หอมแรง ออกเป็นช่อแบบแตกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ห้อยลงและบิดเป็น เกลียว ชาวบ้านสมัยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกตันพะยอมไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีอุปนิสัยที่อ่อนน้อม เพราะพะยอม คือการยินยอม ตกลงผ่อนผันประณีประนอม นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าจะไม่ขัดสนเพราะบุคคลทั่วไปมีในสมัยโบราณชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นพะยอมไว้ประ

ลายจำปูนภูงา

การค้นหาลายผ้าประจำจังหวัดพังงา ใช้แนวคิดจากการถอดรหัส 4DNA และอัตลักษณ์ความเป็นพังงา คือ ๑. ดอกจำปูน - เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพังงา ดอกมี
สีขาวเป็นมัน มี ๓ กลีบ และมีกลิ่นหอมมาก ออกดอกทั้งปี ซึ่งผู้ออกแบบได้นำดอกจำปูนมาจัดวางในลักษณะหมุนรอบจุด สื่อถึงความรักและความสามัคคีของผู้คน
ในจังหวัด กึ่งกลางใช้รูปทรงสี่เหลี่ยม ๙ ชิ้น จัดเรียงต่อกัน แทนสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ แทนความหวังแสงสว่าง และความเจริญรุ่งเรือง ๒. เส้นคลื่น – สื่อถึงจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลอันดามัน

ลายดอกสารภี

  1. ดอกสารภี: ดอกไม้มงคล เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพะเยา
  2. เกสร : ด้านในเป็นใจกลางของดอกสารภี จำนวน 9 อัน หมายถึง 9 อำเภอ ในจังหวัดพะเยาที่รวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ล้อมรอบด้วยคลื่นสายน้ำกว๊านพะเยาและขุนเขา
  3. กลีบดอกสารภี: (คล้ายรูปหัวใจด้านนอก) จำนวน 10 กลีบ (กลีบดอกสารภี จำนวน 5 กลีบใช้เทคนิคการทอผ้า “การขิด” สะท้อนภาพ) หมายถึง การคิดค้นลายขึ้นในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ สื่อถึงปณิธานของพระองค์ท่าน ในการ “สืบสานรักษา ต่อยอด” และรูปหัวใจ หมายถึง การหลอมรวมหัวใจของคนจังหวัดพะเยา การออกดอกสารภี จะมีลักษณะเป็น

ปราจีนบุรี ศรีภูษา

ลายผ้า “ปราจีนบุรี ศรีภูษา” ได้รับแนวคิดในการพัฒนาและออกแบบลวดลายมาจากอัตลักษณ์ที่สื่อถึงความเป็นจังหวัดปราจีนบุรี

  1. ใบโพธิ์ สื่อถึงต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี
  2. สวัสดิกะ เป็นภาษาสันสฤตหมายความว่าสัญลักษณ์แห่งโชคและความอยู่ดีมีสุข
  3. แม่น้ำปราจีนบุรี สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดปราจีนบุรี
  4. ดอกปีบ หรือ ดอกกาสะลอง เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี

ผ้ายกดอกลายเต่า

“ผ้ายกดอกลายเต่า” ของหมู่บ้านเขาเต่าเป็นลายผ้าไทยประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผ้ายกดอกลายเต่าเป็นผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนเขาเต่า ลักษณะของลายยกคอกเป็นลายหลังเต่าเพราะด้วยชื่อของชุมชนคือชุมชนเขาเต่า ซึ่งเป็นชุมชนที่ติดทะเลและมีอาชีพประมงเป็นหลัก ดั้งเดิมชุมชนนี้จะมีเต่ามาอาศัยเป็นจำนวนมาก เราจึงใช้ลักษณะของกระดองเต่านี้เป็นเอกลักษณ์ของผ้ายกดอกลายเต่า เป็นการทอด้วยกี่กระตุกแบบคันยก 4 ตะกรอ 6 ขาเหยียบ และผสมผสานเทคนิคของการทอผ้าและความชำนาญการทอของช่างทอผ้ากับการใช้เส้นฝ้ายที่เป็นฝ้าย 100 เปอร์เซ็นต์

ลายหมากเบ็ง (เบญจลักษณ์แห่งบึงกาฬ)

ลายหมากเบ็ง (เบญจลักษณ์ของบึงกาฬ) เป็นลายผ้าที่ได้รับการพัฒนาต่อยอด เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดบึงกาฬ ที่สะท้อนสภาพทางภูมิศาสตร์ วิถีชีวิต วัฒนธรรมและความเชื่อความศรัทธาตำนานพญานาคของชุมชนลุ่มน้ำโขงที่อิงกับพุทธศาสนา ประกอบไปด้วย 5 สิ่ง มาผสมผสานเป็นลายผ้า ได้แก่แม่น้ำโขง พญานาค หินสามวาฬ หมากเบ็ง และดอกสิรินธรวัลลี โดยการวางลายล่างสุดเป็นสายน้ำโขง เหนือสายน้ำมีพญานาค 9 เศียร หันหน้าออกซ้ายขวาลำตัวคลุมหินสามวาฬ 2 แถว ที่วางลักษณะก้างปลา โดยระหว่างเศียรของพญานาคทั้ง 2 มีต้นสิรินธรวัลลีออกดอกบานสะพรั่งอยู่บนสุด ถัดมาเป็นขันหมากเบ็งวางเชื่อมระหว่างลายไปเรื่อยๆ

ผ้าลายน้ำไหล

ผ้าทอลายน้ําไหลไทลื้อเป็นผ้าทอที่มีความประณีตลวดลายสวยงาม มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัวเป็นพิเศษที่แตกต่างจากลายผ้าอื่นๆ จึงถือว่าเป็นลายผ้าที่สวยงามของจังหวัดน่าน ราชินีแห่งความงามของลายผ้าเมืองเหนือ

ผ้าลายพิกุลพลอย

ลายพิกุลพลอย เป็นลายผ้าทอที่พัฒนาจากลายดอกพิกุล หรือบุหงาตันหยงในภาษามลายูถิ่น ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระราชทานไว้แก่กลุ่มทอผ้าเมื่อครั้งที่ทรงมีพระราชดำริส่งเสริมให้ราษฎรทอผ้า ถูกคิดค้นสร้างสรรค์ลายขึ้นมาใหม่ ภายใต้แนวคิด ผ้าทอลายใหม่ที่ไม่ซ้าลายจากผ้าทออื่น ๆ ทั้งในและต่างพื้นที่ แต่ก็ยังคงรูปแบบความสวยงามตามสไตล์ผ้าทอมือและเป็นเอกลักษณ์หนี่งเดียวของจังหวัดนราธิวาส คือ“ผ้าทอ 7 ตะกอ 12 เท้าเหยียบ

หงส์ในโคม

  1. ลายหงส์ หรือบางที่เรียกว่าลาย นกกินน้ำร่วมต้น สื่อความหมายถึง ความรัก ความสมานสามัคคี และการแบ่งปัน
  2. ลายโคม เป็นลายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีรูปลักษณ์คล้ายกับโคมแขวน ทำหน้าที่เป็นกรอบรูปหงส์ ชาวล้านนาประดิษฐ์โคมขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในวันเพ็ญเดือนยี่ หรือวันลอยกระทง

เชียงแสนหงส์ดำ

ลายเชียงแสนหงส์ดำ ในผ้าซิ่น “ตีนจก” เป็นผ้าทอมือเพื่อนำไปต่อเชิงผ้าถุง ชาวภาคเหนือคำว่า “จก” เป็นคำพื้นเมืองภาคเหนือ หมายถึง การล้วงเพราะในการทอผ้าชนิดนี้จะมีลักษณะการทอลวดลายบนผืนผ้าโดยใช้ขนเม่น หรือไม้แหลมจกหรือล้วงเส้นด้ายสีต่างๆ ขึ้นบนและลงล่าง ให้เป็นลวดลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกลักษณ์ของซิ่นเชียงแสนโบราณ ปรากฏลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ลายหงส์ดำ หรือหงส์เชียงแสน โดยรูปแบบลวดลายของตัวหงส์ สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากลวดลายปูนปั้นประดับเรือนซุ้มโขง (ซุ้มประตูทางเข้าในเขตพุทธาวาสหรือวิหาร ประดับด้วยลวดลายปูนปั้นเป็นรูปสัตว์ในป่าหิมพานต์สัญลักษณ์แทน ป่าหิมพานต์ตามคติจักรวาล) ที่แพร่หลายไปทั่