Skip to main content

ห้ามใช้น้ำยาฟอกขาว

ผ้าพุมเรียง ลายราชวัตรโคม หรือราชวัตรดอกใหญ่

ประเภทของผ้าพุมเรียง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือผ้าทอพุมเรียงประเภทผ้าฝ้าย ผ้าไหมพุมเรียง และผ้าไหมปนฝ้าย
ลวดลายเก่าซึ่งเป็นลายดั้งเดิมที่นิยม กันมาแต่เก่าก่อน เช่น ลายยกเบ็ด ลายดอกพิกุล ลายคชสีห์ ลายราชสีห์ ลายครุฑ ลายกินรี ลายเทพพนม ลายเบญจรงค์ ลายศรีวิชัย ลายกริช ลายโบตั๋น ลายราชวัตร ลายก้านต่อดอก ลายผ้ายกเชิงครุฑ และลายนพเก้า ช่างทอผ้าที่ตำบลพุมเรียง จะมีลวดลายต้นแบบที่ใช้เป็นตัวอย่างเก็บดอกผ้าเรียกว่า “ครูผ้า” อาจจะเป็นผ้าที่ปักด้วยไหม เป็นลวดลายต่างๆ หรือเศษผ้ายกที่ช่างทอเก็บไว้แต่เดิม

ผ้าจกไทยวน ลายราชบุรี หรือลายกาบโอ่งนกคู่

การทอผ้าจกในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีการทอผ้าจกในภาคเหนือและภาคกลางรูปแบบ ลวดลาย สีสัน ของผ้าจก จะ แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นหรือเอกลักษณ์ของแต่ละเผ่าพันธุ์ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษผ้าจกของไทย หากแบ่งตามชนเผ่า จะพบว่ามีการทอผ้าจกตามชนเผ่าใหญ่ๆ ดังนี้
1) ผ้าจกไท-ยวน
2) ผ้าจกไท-พวน (ลาวพวน)
3) ผ้าจกไท-ลื้อ
4) ผ้าจกลาวครั่ง

ลายกาบโอ่งนกคู่ราชบุรี

ผ้าขิดลายยศสุนทร หรือลายลูกหวาย

สีฟ้า หมายถึง สีประจำจังหวัดยโสธร
สีขาว หมายถึง สีของดอกหวาย มีลักษณะพิเศษคือ ดอกสีขาวจะยกสูงขึ้นมองเห็นเด่นชัด
ลายขิด หมายถึง ภูมิปัญญาของชาวบ้าน คือการทอขิดให้เป็นลาย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวจังหวัดยโสธร
ลูกหวาย หมายถึง ความชาญฉลาดของภูมิปัญญาชาวยโสธร ความหนักแน่น มั่นคง สามัคคี อ่อนโยน

แคนแก่นคูน

  1. ลายแคน หมายถึง สัญลักษณ์แทนความเจริญและสนุกสนาน เมืองแห่งหมอแคน ความสุขของชาวขอนแก่น
  2. ลายดอกคูน หมายถึง สัญลักษณ์ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น
  3. ลายพานบายศรี หมายถึง ความมีมิตรภาพ ประเพณีการผูกเสี่ยว และการยินดีต้อนรับผู้มาเยือนของประชาชนชาวขอนแก่น
  4. ลายขอ หมายถึง เป็นสัญลักษณ์แทนความอยู่ดีกินดี ความอุดมสมบูรณ์ของประชาชนชาวขอนแก่น
  5. ลายโคม หมายถึง การสืบทอดภูมิปัญญาวัฒนธรรมของชาวขอนแก่น
  6. ลายกง หมายถึง อาณาเขตบริเวณที่ได้รับการอารักขาให้เกิดความมั่นคง ปลอดภัย ทั้งด้านร่างกายจิตใจตลอดไป
  7. บักจับหรือหมากจับ หมายถึง ความรัก ความสามัคคี

ผ้ากาบบัว

ผ้ากาบบัว เป็นชื่อผ้าในวรรณกรรมโบราณอีสาน มีความหมายเหมาะสมสอดคล้องกับชื่อของจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อดูความหมายของ "กาบ" ตามพจนานุกรมฯ อธิบายไว้ว่า "น.เปลือกหุ้มชั้นนอกของผลหรือดอก และของต้นไม้บางชนิด ลอกออกได้เป็นชั้นๆ เช่น กาบมะพร้าว กาบหมาก กาบกล้วย โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น" โดยนัยแห่งคำอธิบายตามพจนานุกรมนี้ "กาบบัว" จึงหมายถึง เปลือกหุ้มชั้นนอกของดอกบัว มิใช่กลีบบัวที่หุ้มรอบเกสรบัวที่อยู่ชั้นใน ดังนั้น กาบบัว คือ กลีบบัวชั้นนอกสุดที่แก่จัดเกือบร่วงโรย

ลายอุทัยสุพรรณิการ์

  1. ลายดอกแก้ว คือ ผู้หญิงที่มีความสวยงามดั่งดอกไม้แต่มีความอดทนเข้มแข็ง
  2. ลายดอกตุ้ม คือ เครื่องประดับที่ผู้หญิงทุกคนต้องมีคือต่างหู
  3. ลายคอง คือ ให้ทำตัวเสมอต้นเสมอปลายอยู่ในทำนองคลองธรรมซื่อสัตย์
  4. ลายอ้อแอ คือ การอ่อนน้อม นุ่มนวล
  5. ลายกาบ คือ ขอบคุณกาบหมาก กาบพลู ที่คนโปราณใช้เป็นประจำ
  6. ลายขอ คือ เครื่องมือทำสวน ทำไร่ ทำนา ไม่ลืมบุญคุณจึงนำมาทอบนผืนผ้า
  7. ลายมะเขือผ่าโผง คือ พืชผักสวนครัวที่อุดมสมบูรณ์

ดอกประดู่ศรีอุตรดิตถ์

ลาย “ดอกประดู่ศรีอุตรดิตถ์” อันมีดอกประดู่ ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นลายอัตลักษณ์ของจังหวัดอุตรดิตถ์

ผ้าไหมหมี่ขิด ลายก้นหอย อารยธรรมห้าพันปี

มาจากแหล่งอารยธรรม มรดกโลกบ้านเชียง ที่เป็นอัตลักษณ์โดดเด่นของจังหวัดอุดรธานี “ลายก้นหอย” นำจากเครื่องปั้นดินเผา สร้างลายบนผืนผ้าแสดงถึงเรื่องราวของมรดกภูมิปัญญา วิถีชีวิต ความเชื่อ ความเจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปวัฒนธรรม และความสามัคคีของคนในชุมชน ที่บอกเล่าเรื่องราวของคนโบราณ ผสมผสานด้วยลายผ้าขิดของคนโบราณและคนอีสาน ภายใต้ผลงานชื่อ “ผ้าไหมหมี่ขิด ลายก้นหอย อารยธรรมห้าพันปี”

ลายตะขอสลับเอื้อ

“ผ้าขิด” เป็นผ้าทอมือที่มีการประยุกต์ลวดลายมาจากหมอนขิด ที่เชื่อว่าเป็นของสูง จึงนิยมใช้ในโอกาสสำคัญ ไม่นิยมมาทำเครื่องนุ่งห่ม หรือส่วนร่างกายต่ำกว่าเอวลงมา ผู้ใช้ฝ้ายลายขิด ถือเป็นมงคลแก่ตนเอง มีลายผ้ามากถึง 72 ลาย “ตะขอ” คือ ไม้ที่มีช่วงปลายงอ สำหรับเกี่ยวครุหรือถังสำหรับตักน้ำจากบ่อ หรือวัสดุที่มีลักษณะงอ ไว้สำหรับเกาะ เกี่ยว แสดงถึงความสามัคคีปรองดอง “เอื้อ” คือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ที่ซ้อนกันสามชั้นเป็นลายนูนหมายถึง ความเอื้อเฟื้อ ความเอาใจใส่ มีน้ำใจ ดังนั้นผ้าขิด“ลายตะขอสลับเอื้อ” จึงมีความหมายว่า มีความเอื้อเฟื้อ สามัคคี เกาะเกี่ยวเหนียวแน่นกันเป็นความหมายที่ดี ผู้ใช้ฝ้ายลายขิด ถ

รวงทอง

  1. ลายนกกระจิบ หมายถึง ดวงอาทิตย์หรือโคมไฟที่ส่องสว่างสู่ความรุ่งเรือง ความอุดมสมบูรณ์ ความเพิ่มพู ของผลผลิต ตลอดถึงการอยู่ดีกินดีของชาวจังหวัดอ่างทอง
  2. ลายรวงข้าวอ่างทอง หมายถึง วิถีชีวิตชาวนาเมืองแห่งเกษตรกรรม เมืองอู่ข้าวอู่น้ำ
  3. ลายรวงข้าวร้อยเรียงผูกพัน หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์การเป็นเมืองแห่งการเกษตรเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ และสื่อถึงความรักความสามัคคีของคนจังหวัดอ่างทองที่ร้อยเรียงผูกพันกัน
  4. ลายต้นสน คือ ชาวลาวเวียง ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในจังหวัดอ่างทองอย่างสันติสุข แสดงให้เห็นถึงความร่มเย็นของจังหวัดอ่างทองที่มีผู้คนมาอยู่อาศัยร่วมกัน
  5. ลายกลอง ซึ่งจังหวัดอ่