Skip to main content

ห้ามใช้น้ำยาฟอกขาว

ผ้าขิดสลับหมี่

ผ้าขิดสลับหมี่ ลายดอกบัวหลวงเป็นดอกบัวบานและบัวตูม” ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด และสื่อถึงคำขวัญประจำจังหวัดหนองบัวลำภู นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน คำขวัญประจำจังหวัด ลวดลายดอกบัวหลวง คือดอกไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู สื่อถึง สีชมพู คือโทนสีประจำจังหวัดหนองบัวลำภู ฉะนั้นเมื่อรวมทุกสิ่งเข้าด้วยกัน จึงรังสรรค์ออกมาเป็นผ้าทอที่มีอัตลักษณ์ของจังหวัดหนองบัวลำภูอยู่อย่างครบถ้วน

ลายนาคใหญ่

ลายนาคใหญ่ (พญานาค 7 เศียร) หมายถึงความยิ่งใหญ่ความอุดมสมบูรณ์ ลายลักษณะหยิก หมายถึง แม่น้ำโขง

ผ้าโฮล

ผ้าโฮล มีพัฒนาการมาจากผ้าปูม เป้นผ้าที่ใช้กันในหมู่ชนชั้นสูงในราชสำนัก มีความวิจิตร งดงาม ปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถสวมใส่ได้ โดยไม่ทิ้งภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในปี 2562

ลายดอกมะเกลือ

ลายดอกมะเกลือ ต้นมะเกลือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นทั้งพืชสมุนไพร และเป็นวัตถุดิบในการใช้ทำสีย้อมผ้า (ต้นมะเกลือ ยังมีความผูกโยงกับความเชื่อของสังคมไทย ดอกแทนความสุขกาย สบายใจ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ) ซึ่งดอกมะเกลือจะมี ๔ แฉก โดยลายดอกมะเกลือ ในต่างพื้นที่จะมีการเรียกชื่อลายต่างกันออกไป บ้างเรียกลายหน้ากระจก (โต๊ะเครื่องแป้ง จะมีบานกระจก 2 ข้าง) บ้างเรียก ลายดาว (ดอกดาว)

ผ้าซิ่นตีนจกลายปลาสังคโลก (ลายปลาคู่)

ผ้าทอตีนจก ๙ ลายเอกลักษณ์ประจำจังหวัดสุโขทัย ผ้าตีนจกทั้ง ๙ ลายมีความวิจิตรงดงามแฝงไว้ด้วยแง่คิดอันทรงคุณค่า เป็นลายตีนซิ่น ที่หญิงชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย ประดิดประดอยมาเป็นตีนซิ่นของ ตนเอง และด้วยภูมิปัญญาที่ชาญฉลาดจึงบังเกิดลวดลายตีนจกถึง ๙ ลายอันทรงคุณค่าและ เป็นเอกลักษณ์ของผ้าจังหวัดสุโขทัย โดยกระบวนการทำาลวดลายผ้าต้องใช้เทคนิคพิเศษ เรียกว่าการจก คือการเอาฝ้ายด้านล่างขึ้นด้านบนของเส้นยืน เวลาทอจะไม่มีการเก็บลาย ล่วงหน้า ผู้ทอต้องจำได้เองว่าจะทอผ้าในแถวต่อไปต้องจกอย่างไร เพราะการทอผ้า ในแต่ละแถวต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะ เพราะต้องนับเส้นด้ายแต่ละเส้น เพื่อใส่เส้นสี ในการจกเ

ลายริ้วทอง

“ ผ้าลายริ้วทองตามรอยเสด็จประพาสต้น” มีความเป็นมาที่ชาวสิงห์บุรีมีความภาคภูมิใจ ที่จะส่งเสริมและต่อยอดลายผ้าริ้วทองให้ได้รับความนิยมอีกครั้ง โดยผ้าจะเป็นสีจากเปลือก มะกล่ําต้น ซึ่งเป็นต้นไม้ประจําจังหวัดสิงห์บุรีและมีสีแดงคล้ายหมากสุก ซึ่งเป็นสีเอกลักษณ์ ของจังหวัดสิงห์บุรีสีแห่งนักรบ นักสู้โดยใช้สีทองที่เกิดจากการย้อมธรรมชาติด้วยเส้นไหมด้าย พุ่งสลับฝ้าย

ลายก้ามปู

ผ้าซิ่นเก็บลายก้ามปู ของ “ครูเจี๊ยบ” หรือ นางสุพัตรา ชูชม ครูช่างศิลปหัตถกรรม ที่ได้รับการเชิดชูเกียรติ จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ในนาม ครูช่างศิลป์ประเภทเครื่องทอ (ผ้าซิ่นตีนจกไทยวน- เสาไห้สระบุรี) เป็นผ้าซิ่นที่แกะลวดลายการทอจากลายเก็บ (จก) ของผ้าเก่าอายุกว่า 250 ปี ที่ อาจารย์ทรงชัย วรรณกุล ปราชญ์ชาวไทยวนสระบุรี รุ่นที่ 5 ได้ทำการเสาะหาและเก็บรวบรวมไว้ตั้งแต่ครั้งยังมีชีวิตอยู่ โดยเก็บไว้ใน “หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวนสระบุรี” อัตลักษณ์ลวดลายตีนซิ่น ไทยวนสระบุรี จะใช้สีแดงเป็นหลักเสมอ ด้วยมีความเชื่อว่า “สีแดง” นั้นหมายความถึง สวรรคภูมิ ที่ชาวไทยวนเชื่อว่าสุดท้ายเมื่อสิ้นลมหายใจท

ลายสระแก้ว

ลายผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดสระแก้ว “ผ้าลายสระแก้ว” 1.ลายปราสาทสด๊กก๊อกธม หมายถึง ปราสาทขอมโบราณ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่หนองเสม็ด หมู่ 9 ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว เดิมเรียกว่าปราสาทเมืองพร้าว เป็นโบราณสถานที่ใหญ่และสำคัญของจังหวัดสระแก้ว สร้างขึ้นด้วยหินศิลาแลง ตามลักษณะศิลปะขอมแบบคลัง-บาปวน สร้างเสร็จในคริสต์ศคตวรรษที่ 11 สมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 2.ลายผีเสื้อดาหลา หมายถึง ผีเสื้อกลางคืนที่มีขนาดใหญ่และมีความสวยงาม (Atlas moth) เป็นผีเสื้อที่อยู่ในวงศ์ (Saturniidae) ตัวหนอน กินใบดาหลาเป็นอาหาร มีการเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ และอนุรักษอ์ยู่ภายในโครงการศิลปาชีพศึกษาพัฒนาไหมไทยพ

ลายจักรี (ลายต้นแบบจากลวดลายเบญจรงค์)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประเทศไทยมีการติดต่อและเปิดรับวัฒนธรรมจากประเทศตะวันตกอย่างแพร่หลาย มีการทำเครื่องปั้นดินเผาและนิยมการพิมพ์ลายเขียนลาย เขียนสี ด้วยลวดลายพรรณพฤกษาหรือลายดอกไม้ที่มีสีสันสดใส โดยรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริ นำลวดลายดอกไม้มาเป็นลวดลายเบญจรงค์ไทยที่เป็นเอกลักษณ์ในกลุ่มลายพรรณพฤกษา และเรียกชื่อลายเครื่องเบญจรงค์ที่เขียนด้วยลายดอกเดซี่ว่า “ลายจักรี” ซึ่งลายจักรีบนเครื่องเบญจรงค์นั้นเป็นอีกหนึ่งลาย ที่ได้รับความนิยมจนมาถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ความหมายของดอกเดซี่ ยังเป็นดอกไม้ที่แสดงถึงความจริงใจ ซื่อสัตย์ และความรักอันบริสุทธิ์อีกด้วย

ลายสมุทราสุมามาลย์

ที่มาของชื่อลายผ้า สมุทราสุมามาลย์ ได้แรงบันดาลใจจากการเดินทางการเดินทางของต้นจิกทะเล เส้นทางในการเจริญเตินโตของต้นจิกทะเล พบว่า แพร่กระจายอยู่โดยรอบริมฝั่งชายเลน หรือริมทะเล เมื่อเจริญเติบโตพัฒนาจากดอก กลายเป็นผลจิกทะเล หากผลแก่จัดจะร่วงหล่นลงไหลไปตามสายน้ำ และเจริญเติบโตในพื้นที่อื่น การเจริญงอกงามผ่านสายน้ำริมชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ของพระสมุทรเทวา