ลายดอกดาวเรือง
ลวดลายมัดหมี่ ลายดอกดาวเรือง เกิดจากการประยุกต์ มาจากลวดลายโบราณ คือลายหมี หมากจับ และลายโคมเจ็ด โดยมีการนำเอาลวดลายดั้งเดิมมาจัดวางใหม่ ให้เกิดเป็นลายดอกดาวเรือง
ลวดลายมัดหมี่ ลายดอกดาวเรือง เกิดจากการประยุกต์ มาจากลวดลายโบราณ คือลายหมี หมากจับ และลายโคมเจ็ด โดยมีการนำเอาลวดลายดั้งเดิมมาจัดวางใหม่ ให้เกิดเป็นลายดอกดาวเรือง
ลายดาวน์บูติงที่ปรากฏบนผืนผ้า เป็นลวดลายคล้ายซุ้มดอกไม้โบราณชนิดหนึ่งที่มีลักษณะ เป็นไม้เลื้อย โดยสำนักงานประวัติศาสตร์ประเทศมาเลเซีย ได้สันนิษฐานว่าดอกไม้ที่ปรากฏบนผืนผ้าคือ ดาวน์บูดิง (Daun Buding) (ดอกบูติง) มาจากภาษามลายู หรือ ดาวน์บูดี (Daun Budy) (ดอกบูดี) มาจากภาษาอินโคนีเซีย ดอกไม้ชนิดนี้พบมากในคาบสมุทรมลายู มีลักษณะคล้ายดอกสายหยุดดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม ใบมีลักษณะเป็นรูปหอก ปลายในแหลมหรือมีติ่งแหลมประเทศในแถบคาบสมุทรมลายนิยมนำดอกไม้ชนิดนี้มาทำเป็นซุ้มดอกไม้เพื่อใช้ในพิธีต้อนรับบ่าวสาวในงานแต่งงาน ลายฟอสซิล เป็นลายฟอสซิลหอยแบรคิโอพอต ในมหายุคพาลีโอโซอิก (อายุประมาณ 299-542 ล้านปี) ที
ผ้าทอเกาะยอมีการทอเป็นลายดอกชนิดต่างๆ เช่น ลายก้านแย่ง" ชื่อเติมคือลายคอนกเขาซึ่งเป็นลายที่สวยที่สุด ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า"ลายราชวัตร"แปลว่า" กิจวัตรหรือการ กระทำ" ผ้าทอเกาะยอมีการสั่งสอน สืบทอดต่อกันภายในครัวเรือนเรื่อยมาเป็นเวลาหลายร้อยปีจนปรากฎว่ามีเพลง กล่อมเต็กเก่าแก่หลายบทที่แสดงให้เห็นถึงค่านิยมและวัฒนธรรมการทอผ้าของชาวเกาะยอ
ผ้า “ลายสะเก็ดธรรม”คือการลายผ้าโบราณมาผสมผสานกับลายผ้าที่เกิดจากแรงบันดาลใจ มามัดเป็นลวดลายและย้อมคราม ธรรมชาติบนเส้นด้ายและทอมาเป็นผืนผ้าอย่างประณีต โดยในแต่ละลายมีความหมายและอัตลักษณ์ของ จังหวัดสกลนคร โดยมีองค์ประกอบ จำนวน 5 ลาย 1. ลายดอกไม้ป่า (ดอกมณีเทวา) เป็นดอกไม้สีขาวที่บานสะพรั่งอยู่ ณ ลานหินสาวเอ้ อุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ อีกจุดหนึ่งของจังหวัดสกลนคร สื่อถึงแผ่นดินธรรม และความบริสุทธิ์ของธรรมชาติในจังหวัดสกลนคร 2.
“ผ้าเหยียบลายลูกแก้ว” เพราะเป็นลายที่มีความสวยงามเหมือนลูกแก้ว มีเอกลักษณ์ทั้งลวดลายและวิธีการทอเฉพาะตัว มีลักษณะการทอแบบยกดอกตลอดทั้งผืน ภาคอีสานเรียกการทอยกดอกว่า การขิด มีการเก็บลวดลายไว้ที่ฟืมทอผ้าที่เรียกว่า ตะกอ หรือเรียกว่า เขา การทอผ้าเหยียบลายลูกแก้วที่ทำให้เกิดลวดลายเด่นชัดจะมีตั้งแต่ 4 ตะกอขึ้นไป แต่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จะนิยมทอ 4 ตะกอ เพราะจะได้ลายผ้าที่เหมาะสม พอดีตัว ลายไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป
ผ้าลายดอกฝ้ายเมืองเลย เกิดจากจินตนาการของช่างมัดหมี่ที่เลือกเอาดอกฝ้ายมาสร้างลวดลายบนผืนผ้า เพื่อสื่อความหมายถึง วิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นจังหวัดเลย รูปต้นดอกฝ้าย ที่ประกอบด้วย ดอกตูม ดอกเล็กที่ซึ่งเพิ่งกำเนิดขึ้น ออกดอกเบ่งบาน ผลิแย้ม พร้อมเก็บเกี่ยว ประดุจครอบครัวชาวเมืองเลยที่อยู่พร้อมหน้าพร้อมตาในครอบครัว
ลายดอกพิกุล หมายถึง ผ้ายก หมายถึง ผ้าไหมที่ทอยกลวดลายให้นูนสูงขึ้นกว่าผืนผ้า โดยเลือกยกบางเส้นและข่มบางเส้น แล้วพุ่งกระสวย ไปในระหว่างกลางด้วยดิ้นเงินหรือดิ้นทอง ซึ่งเทคนิคในการทอยกให้เกิดลวดลายนี้เรียกว่า เทคนิคการยกดอก ผ้ายก เป็นผ้าโบราณที่อดีตใช้ในคุ้มเจ้าหรือในพระราชสำนักเท่านั้น ผ้าไหมยกดอก มีความหมายเดียวกับผ้ายก ต่างกันที่การใช้ไหมพุ่งอาจจะใช้เส้นไหมสีต่างๆ แทนเส้นดิ้นในการทอผ้า
ลายไส้หมู (ละกอนไส้หมู) ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มลวดลายที่แสดงเอกลักษณ์ของศิลปะลำปางอย่างชัดเจน ลายไส้หมูจัดอยู่ในกลุ่มลายขี้เมฆหรือลายเมฆไหล ซึ่งเป็นกลุ่มลายที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบจีนที่เข้ามามีบทบาทอิทธิพลต่อรูปแบบศิลปะล้านนาและได้มีพัฒนาการจนกลายเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตนจากรูปลักษณ์ของลวดลาย ในการขดม้วนไปมาในกรอบลายรูปแบบต่างๆ นอกจากนั้นแล้ว ยังได้มีการกำหนดสีอัตลักษณ์ลำปาง คือ สีแดงครั่ง สีเขียวมะกอก และสีดินภูเขาไฟ ซึ่งสีแดงครั่งและสีเขียวมะกอก เป็นสีที่นิยมใช้บนผืนผ้าของจังหวัดลำปางมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากจังหวัดลำปางเป็นแหล่งปลูกครั่งจำนวนมาก และมีดินจากภูเขาไฟแฝด คือ ภูเขาไฟดอยผาคอก-จำปาแดด
เป็นผ้าทอที่มีการออกแบบลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ ด้วยการนำเอาดอกพิกุลมาทอเป็นลวดลายลงบนผืนผ้า ซึ่งดอกพิกุลเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดลพบุรี สีพื้นน้ำเงินเป็นสีประจำจังหวัดลพบุรี จึงได้นำมาผสมผสานกันเป็นผ้าทอมัดหมี่ลพบุรีลายดอกพิกุลขึ้นมา
ลายผ้าตากะหมุก (ตาสมุก) เป็นผ้าที่มีเอกลักษณ์ในการทอ
โดยใช้เทคนิคการทอขัด เส้นสีเข้ม สลับกับเส้นสีอ่อน
โดยได้พัฒนามาจาก"กะหมุก (สมุก)" ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่
หรือใบตาล เป็นต้น มีรูปร่างและขนาดต่างกันใช้สําหรับใส่สิ่งของ