Skip to main content

ห้ามใช้น้ำยาฟอกขาว

อินทนิล สินธุ์แร่นอง

อินทนิล ต้นไม้ประจำจังหวัดระนอง สื่อความหมายด้วยช่อใบเสมือนลมหายใจของคนระนอง โอบล้อมด้วยความจงรักภักดี ผ่านตัวอักษร “ร” ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลาง ให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม

ผ้าลายสาเกต

ผ้าไหมลายสาเกต คำว่าสาเกต มาจากชื่อเมือง สาเกตนคร ซึ่งก็คือชื่อเมืองโบราณอันเป็นที่ตั้งของเมืองร้อยเอ็ดในปัจจุบัน ลายผ้าพัฒนามาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมของชาวเมืองร้อยเอ็ด เป็นลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ได้มีการรวมเอาลายผ้ามัดหมี่พื้นบ้าน 5 ลาย

ยะลารวมใจ

ลาย“ยะลารวมใจ” ผู้ออกแบบได้นําเรื่องราวในพื้นที่มาสร้างสรรค์
ให้เกิดเป็นลวดลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ประจําจังหวัดยะลา การออกแบบลวดลายมีแรงบันดาลใจจากดอกไม้
ประจําจังหวัดยะลา คือ ดอกพิกุล และ แห หรือยาลอ สื่อความหมายถึงปวงประชาชนที่มีความสมานฉันท์กลม
เกลียวกัน ไม่ว่าเชื้อชาติ ศาสนาใด ร้อยเรียงประดุจพี่น้องที่รักใคร่กัน การผลิตผ้าใช้เทคนิคการผลิตแบบ
ผ้าปาเต๊ะ ซึ่งเป็นผ้าประจําถิ่นคาบสมุทรมลายูสะท้อนอัตลักษณ์ของท้องถิ่น อย่างร่วมสมัยด้วยการเขียน
เทียนหรือพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์โลหะและแม่พิมพ์ไม้ ใช้ผ้าคอตตอน หรือ ผ้าซาติน

เอื้องแซะ

"ลายเอื้องแชะ ราชินีกล้วยไม้หอมแห่งเมืองสามหมอก" มีลวดลายและความหมายดังนี้

ผ้าลายแก้วมุกดา

ผ้าไหมมัดหมี่ลายแก้วมุกดา เป็นการนำเอาลวดลายผ้าโบราณที่มีเอกลักษณ์และมีความหมายของจังหวัด จำนวน 5 ลาย มามัดเป็นลวดลายบนเส้นไหมและทอเป็นผืนผ้า แต่ละลายมีเอกลักษณ์และความหมายสำหรับจังหวัดมุกดาหาร

ลายสร้อยดอกหมาก

“ลายสร้อยดอกหมาก ” หมายถึง ลายผ้าที่เกิดจากการมัดหมี่ โดยการนำลายโคมเก้า และโคมห้า มามัดซ้อนกัน แล้วนำไปย้อมและโอบหมี่ซ้ำเพื่อให้เกิดลวดลาย สีสัน แรเงา เด่นชัด ละเอียดสวยงามมากยิ่งขึ้น

ลายปะการังและท้องทะเล

สืบเนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวทางธรรมชาติระดับโลก เมื่อประมาณ ปีพ.ศ.2535 – 2540 นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาภูเก็ตและชื่นชอบการดำน้ำเพื่อชมความงามของท้องทะเล ดูปะการัง ปลาสวยงามตามเกาะต่างๆ อีกทั้งชายฝั่งภูเก็ตมีความสวยงาม จากกระแสของนักท่องเที่ยวนี้ทำให้เกิดความคิดในการสร้างลวดลายของท้องทะลภูเก็ต ได้แก่ กลุ่มลายปลาผีเสื้อ ลายปลาดาว ปลาโนรี ปลานกกระจิบ ปลาการ์ตูน และกลุ่มปะการัง ต่อมาได้ศึกษาลวดลายบนผ้าบาติกอย่างจริงจัง โดยได้ออกแบบลวดลายท้องทะเลบนผ้าบาติกให้กับส่วนราชการเป็นครั้งแรก เมื่อปีพ.ศ.

ลายดอกสัก

“ลายดอกสัก” สามารถนำมาใช้เป็นลายเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าของเมืองแพร่อย่างหลากหลายเทคนิค ได้แก่ ผ้าตีนจกแบบเมืองลอง, ผ้าปักลายแบบชาวกะเหรี่ยง, ผ้าบาติก ผ้าพิมพ์ลาย ผ้าเขียนลายด้วยเทคนิคการย้อมผ้าหม้อห้อม,ผ้าไหมยกดอกและผ้าด้นมือ โดยต้องใช้ โครงสร้างหลักของลายดอกสักที่เป็นเอกลักษณ์ นั่นคือ ลายดอกไม้ที่มี ๖ กลีบ ๖ เกสรดอกสักผลิดอกงามจากต้นไม้ที่เป็นมงคลอันทรงคุณค่าและมีมูลค่า ซึ่งมีความผูกพันกับชาวเมืองแพร่มาอย่างยาวนาน จึงสมควรเป็นลายผ้าประจำจังหวัด ที่จะสร้างความภาคภูมิใจและเกียรติภูมิ ให้กับคนเมืองแพร่สืบไป

ลายมัดหมี่คั่น

“ลายมัดหมี่คั่น” มีลักษณะเด่นคือ การออกแบบอย่างมีสุนทรียศาสตร์ มีการเชื่อมโยงระหว่างสาระทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม มีอัตลักษณ์โดดเด่น คือ ลายผ้าจะปรากฏลายมัดหมี่ตั้งแต่ ๗ ลายขึ้นไป บางผืนมีลายมัดหมี่มากถึง ๑๘ ลาย ทอสลับคั่นด้วยเส้นไหม/ฝ้ายหลากสีจำนวนถี่ๆ แบบฉบับเมืองหล่มเก่า เรียกว่า ห้องลาย หนึ่งห้องประกอบด้วยหมี่น้อย หมี่กลาง หมี่ใหญ่และสอดสลับมะไม (มะไม : ไหมสองสีเข็น ให้เกิดลวดลายบางถิ่นเรียกว่า เข็นควบ)

สุวรรณวัชร์

ลายผ้าสุวรรณวัชร์ คำว่า "สุวรรณ" หมายถึงวัดใหญ่สุวรรณาราม ซึ่งเป็นวัดที่มีศิลปกรรมที่สมบูรณ์ ของจังหวัดเพชรบุรี ส่วนคำว่า "วัชร์" แปลว่า เพชร หมายถึง จังหวัดเพชรบุรี ดังนั้นคำว่า "สวรรณวัชร์" จึงหมายถึง ผ้าจากลายวัดใหญ่สุวรรณาราม และเป็นผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดเพชรบุรี