Skip to main content

ห้ามใช้น้ำยาฟอกขาว

ผ้าทอลายดอกปีบ

ลายดอกบุนนาค มีท่าจากต้นบุนนาค ต้นไม้ประจำจังหวัดพิจิตร บุนนาค เป็นต้นไม้ยืนต้น เนื้อแข็ง กลิ่นหอม ซึ่งมีดอกไม้เป็นเอกลักษณ์ ดอกสีขาว มีกลีบดอก 4 กลีบ ด้านในมีเกสรวงกลม สีเหลืองอมส้ม ผ้าทอลาย “ดอกบุนนาค” สามารถถักทอได้ทั้งผ้าฝ้าย ผ้าไหม หรือเส้นด้ายประดิษฐ์ ใช้การทอผ้าแบบกี่กระตุก มีการทอเป็นลวดลายที่ประณีต สวยงาม โดยนำลาย “ดอกบุนนาค” มาทอผสมผสานกับลายอัตลักษณ์ของแต่ละกลุ่มการย้อมสีผ้าทอ มีการย้อมสีทั้งแบบใช้สีเคมีและสีธรรมชาติที่สกัดจากดอกไม้หรือต้นไม้ในแต่ละท้องถิ่น เช่น สีของใบมะม่วง ขมิ้น เป็นต้น

ลายดอกบุนนาค

ลายดอกบุนนาค มีท่าจากต้นบุนนาค ต้นไม้ประจำจังหวัดพิจิตร บุนนาค เป็นต้นไม้ยืนต้น เนื้อแข็ง กลิ่นหอม ซึ่งมีดอกไม้เป็นเอกลักษณ์ ดอกสีขาว มีกลีบดอก 4 กลีบ ด้านในมีเกสรวงกลม สีเหลืองอมส้ม ผ้าทอลาย “ดอกบุนนาค” สามารถถักทอได้ทั้งผ้าฝ้าย ผ้าไหม หรือเส้นด้ายประดิษฐ์ ใช้การทอผ้าแบบกี่กระตุก มีการทอเป็นลวดลายที่ประณีต สวยงาม โดยน าลาย “ดอกบุนนาค” มาทอผสมผสานกับ
ลายอัตลักษณ์ของแต่ละกลุ่ม
การย้อมสีผ้าทอ มีการย้อมสีทั้งแบบใช้สีเคมีและสีธรรมชาติที่สกัดจากดอกไม้หรือต้นไม้ในแต่ละท้องถิ่น เช่น สีของใบมะม่วง ขมิ้น เป็นต้น

ลายดอกพะยอมเล็ก

ต้นพะยอมและดอกพะยอมเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนป่าพะยอม เนื่องจากไม้พะยอมมีอยู่มากมาย จนตั้งชื่อบ้านตามชื่อพันธุ์ไม้ว่า บ้านป่าพะยอม ต้นพะยอมเป็นต้นไม้ใหญ่ที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบลป่าพะยอม ชาวบ้านในสมัยก่อนใช้ไม้พะยอมในการก่อสร้างบ้านเรือน ดอกพะยอมมีสีขาวนวล ถึงสีเหลืองอ่อน มีกลิ่น หอมแรง ออกเป็นช่อแบบแตกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ห้อยลงและบิดเป็น เกลียว ชาวบ้านสมัยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกตันพะยอมไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีอุปนิสัยที่อ่อนน้อม เพราะพะยอม คือการยินยอม ตกลงผ่อนผันประณีประนอม นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าจะไม่ขัดสนเพราะบุคคลทั่วไปมีในสมัยโบราณชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นพะยอมไว้ประ

ลายจำปูนภูงา

การค้นหาลายผ้าประจำจังหวัดพังงา ใช้แนวคิดจากการถอดรหัส 4DNA และอัตลักษณ์ความเป็นพังงา คือ ๑. ดอกจำปูน - เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพังงา ดอกมี
สีขาวเป็นมัน มี ๓ กลีบ และมีกลิ่นหอมมาก ออกดอกทั้งปี ซึ่งผู้ออกแบบได้นำดอกจำปูนมาจัดวางในลักษณะหมุนรอบจุด สื่อถึงความรักและความสามัคคีของผู้คน
ในจังหวัด กึ่งกลางใช้รูปทรงสี่เหลี่ยม ๙ ชิ้น จัดเรียงต่อกัน แทนสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ แทนความหวังแสงสว่าง และความเจริญรุ่งเรือง ๒. เส้นคลื่น – สื่อถึงจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลอันดามัน

ลายดอกสารภี

  1. ดอกสารภี: ดอกไม้มงคล เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพะเยา
  2. เกสร : ด้านในเป็นใจกลางของดอกสารภี จำนวน 9 อัน หมายถึง 9 อำเภอ ในจังหวัดพะเยาที่รวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ล้อมรอบด้วยคลื่นสายน้ำกว๊านพะเยาและขุนเขา
  3. กลีบดอกสารภี: (คล้ายรูปหัวใจด้านนอก) จำนวน 10 กลีบ (กลีบดอกสารภี จำนวน 5 กลีบใช้เทคนิคการทอผ้า “การขิด” สะท้อนภาพ) หมายถึง การคิดค้นลายขึ้นในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ สื่อถึงปณิธานของพระองค์ท่าน ในการ “สืบสานรักษา ต่อยอด” และรูปหัวใจ หมายถึง การหลอมรวมหัวใจของคนจังหวัดพะเยา การออกดอกสารภี จะมีลักษณะเป็น

ลายดอกโสน

ผ้าลายดอกโสน เป็นลวดลายที่เกิดจากการนำดอกโสน ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสีฟ้า สีน้ำเงินของผ้ามาจากสีธงประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำมาออกแบบเป็นลวดลายผ้าดอกโสน มีชื่อจังหวัด “พระนครศรีอยุธยา” บนผืนผ้า

ลายผ้าจวนตานี

ผ้าจวนตานี หรือผ้ายกตานี เป็นผ้าพื้นเมืองดั้งเดิมแบบหนึ่งของปัตตานี และจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์คือมีล่องหรือลวดลายตามชายผ้า หรือที่ริมผ้า บางครั้งจึงเรียกว่า "ผ้าล่องจวน" ช่างทอผ้าชาวเมืองปัตตานีรุ่นเก่า ๆ เรียกผ้าดังกล่าวว่า "จูวา" จูวา หมายถึงลวดลายที่ปรากฏอยู่บริเวณชายผ้าทั้งสองด้าน หากลวดลายวางเป็นแนวอยู่ในช่องขนาน มีลักษณะเป็นร่องริ้วก็เรียกว่า "ล่องจูวา" ลายของจูวาส่วนอื่นเป็นลายที่ใช้กรรมวิธีมัดหมี่ รูปแบบของลายจูวามีหลากหลายลักษณะ ผ้าที่เป็นลายจูวาเต็มตลอดทั้งผืน เรียกกันว่า "ผ้าลีมา" จัดเป็นผ้าชั้นสูง ต้องใช้ความประณีตและรา

ปราจีนบุรี ศรีภูษา

ลายผ้า “ปราจีนบุรี ศรีภูษา” ได้รับแนวคิดในการพัฒนาและออกแบบลวดลายมาจากอัตลักษณ์ที่สื่อถึงความเป็นจังหวัดปราจีนบุรี

  1. ใบโพธิ์ สื่อถึงต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี
  2. สวัสดิกะ เป็นภาษาสันสฤตหมายความว่าสัญลักษณ์แห่งโชคและความอยู่ดีมีสุข
  3. แม่น้ำปราจีนบุรี สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดปราจีนบุรี
  4. ดอกปีบ หรือ ดอกกาสะลอง เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี

ผ้ายกดอกลายเต่า

“ผ้ายกดอกลายเต่า” ของหมู่บ้านเขาเต่าเป็นลายผ้าไทยประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผ้ายกดอกลายเต่าเป็นผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนเขาเต่า ลักษณะของลายยกคอกเป็นลายหลังเต่าเพราะด้วยชื่อของชุมชนคือชุมชนเขาเต่า ซึ่งเป็นชุมชนที่ติดทะเลและมีอาชีพประมงเป็นหลัก ดั้งเดิมชุมชนนี้จะมีเต่ามาอาศัยเป็นจำนวนมาก เราจึงใช้ลักษณะของกระดองเต่านี้เป็นเอกลักษณ์ของผ้ายกดอกลายเต่า เป็นการทอด้วยกี่กระตุกแบบคันยก 4 ตะกรอ 6 ขาเหยียบ และผสมผสานเทคนิคของการทอผ้าและความชำนาญการทอของช่างทอผ้ากับการใช้เส้นฝ้ายที่เป็นฝ้าย 100 เปอร์เซ็นต์

ลายรักบัว

ลายผ้ารักบัว ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานจากตราสัญลักษณ์ คําขวัญ และความหมายของธง
ประจําจังหวัดปทุมธานี โดยมีแนวคิดในการออกแบบ คือ การนําเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอย่างดอกบัวหลวงที่เป็นดั่งชื่อจังหวัด รวงข้าวผลผลิต
ทางการเกษตรกรรมของจังหวัด ซึ่งหมายถึงพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ สายน้ําเจ้าพระยาที่เป็นแม่น้ํา คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน และยังเป็นแม่น้ําสายหลักที่หล่อเลี้ยงชาวปทุมธานีมาจนถึงทุกวันนี้ และความรักท้องถิ่น ความสามัคคีเป็นปึกแผ่น โดยไม่แบ่งแยกกลุ่มชนเชื้อสายต่าง ๆ