Skip to main content

ห้ามใช้น้ำยาฟอกขาว

ลายหางกระรอกคู่

ลายหางกระรอกคู่ เป็นผ้าเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติไทยพันธุ์ เป็นผ้าลายริ้วที่สร้างลวดลายด้วยเส้นไหมต่างสีหรือเส้นไหมพิเศษทางเส้นพุ่ง โดยทอเส้นพุ่งด้วยไหมควบ 2 เส้น สลับกับการทอด้วยเส้นไหมสีพื้นช่วงละ 2 เส้น 4 เส้น ตามแบบแผน เส้นไหมที่ควบแล้วจึงเป็นเส้นประเล็กๆ เมื่อทอเป็นผืนผ้าแล้วจะปรากฎเป็นเส้นประเล็กๆ กระจาย คล้ายภาคคลื่นเล็กๆทั่วผืนผ้า ทำให้ดูนุ่มฟูราวปุยขนของหางกระรอกทำให้ดูคล้ายๆ หางกระรอก 2 ตัว วิ่งคู่กัน และมีความหมายสวยงามเป็นมันวาว

ลายหมากเบ็ง (เบญจลักษณ์แห่งบึงกาฬ)

ลายหมากเบ็ง (เบญจลักษณ์ของบึงกาฬ) เป็นลายผ้าที่ได้รับการพัฒนาต่อยอด เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดบึงกาฬ ที่สะท้อนสภาพทางภูมิศาสตร์ วิถีชีวิต วัฒนธรรมและความเชื่อความศรัทธาตำนานพญานาคของชุมชนลุ่มน้ำโขงที่อิงกับพุทธศาสนา ประกอบไปด้วย 5 สิ่ง มาผสมผสานเป็นลายผ้า ได้แก่แม่น้ำโขง พญานาค หินสามวาฬ หมากเบ็ง และดอกสิรินธรวัลลี โดยการวางลายล่างสุดเป็นสายน้ำโขง เหนือสายน้ำมีพญานาค 9 เศียร หันหน้าออกซ้ายขวาลำตัวคลุมหินสามวาฬ 2 แถว ที่วางลักษณะก้างปลา โดยระหว่างเศียรของพญานาคทั้ง 2 มีต้นสิรินธรวัลลีออกดอกบานสะพรั่งอยู่บนสุด ถัดมาเป็นขันหมากเบ็งวางเชื่อมระหว่างลายไปเรื่อยๆ

ผ้าลายน้ำไหล

ผ้าทอลายน้ําไหลไทลื้อเป็นผ้าทอที่มีความประณีตลวดลายสวยงาม มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัวเป็นพิเศษที่แตกต่างจากลายผ้าอื่นๆ จึงถือว่าเป็นลายผ้าที่สวยงามของจังหวัดน่าน ราชินีแห่งความงามของลายผ้าเมืองเหนือ

ผ้าลายพิกุลพลอย

ลายพิกุลพลอย เป็นลายผ้าทอที่พัฒนาจากลายดอกพิกุล หรือบุหงาตันหยงในภาษามลายูถิ่น ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระราชทานไว้แก่กลุ่มทอผ้าเมื่อครั้งที่ทรงมีพระราชดำริส่งเสริมให้ราษฎรทอผ้า ถูกคิดค้นสร้างสรรค์ลายขึ้นมาใหม่ ภายใต้แนวคิด ผ้าทอลายใหม่ที่ไม่ซ้าลายจากผ้าทออื่น ๆ ทั้งในและต่างพื้นที่ แต่ก็ยังคงรูปแบบความสวยงามตามสไตล์ผ้าทอมือและเป็นเอกลักษณ์หนี่งเดียวของจังหวัดนราธิวาส คือ“ผ้าทอ 7 ตะกอ 12 เท้าเหยียบ

หม้อน้ำลายวิจิตร

  1. หม้อน้ำลายวิจิตร จัดเป็นศิลปะและมรดกทางภูมิปัญญาฯ ประเภทงานช่างฝีมือดั้งเดิม เป็นงานปั้นดินผา แบบไม่เคลือบ ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนนทบุรี ที่แสดงให้เห็นถึงอาชีพตั้งเดิมของคนในชุมชน
  2. ดอกนนทรี นนทบุรี มีดอกไม้ประจำจังหวัดคือ ต้นนทรี กลีบดอกซึ่งมี 5 กลีบ กลีบดอกลักษณะบางและค่อนข้างยับย่น โคนกลีบมีขนสีน้ำตาลอยู่ประปราย และฝักของดอกนนทรีมีรูปทรงเหมือนโล่ ได้นำมาใช้ประดับผืนผ้า ด้วยความหมายที่เป็นไม้ยืนต้น มีอายุยืนยาว มีในสีเขียวขจี ตลอดทั้งปี ช่อดอกเป็นพวงระย้า และมีดอกสีเหลืองทอง อันหมายถึง สีเหลืองทองสะพรั่งแห่ง 2 รัชกาล

ลายพาสาน

  1. ลายขอ เป็นลายขอพระราชทานของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
  2. ลายผักกูด พืชที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่สื่อ ความหมายถึงความงดงามของธรรมชาติ
  3. ลายขิด "ขิด" ที่มาจากคำว่า "สะกิด" หมายถึง การงัดซ้อนขึ้นหรือสะกิดซ้อนขึ้นที่เพื่อทำลวดลาย
  4. ลายหมี่ตาประยุกต์ ผ้าทอจะออกสีแดงชาด
  5. ลายดอกเสลา เป็นพันธุ์ไม้พระราชทาน ปลูกเป็นไม้มงคล ประจำจังหวัดนครสวรรค์
  6. ลายพลุ แนวคิดจากการจุดพลุเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีน การเริ่มต้น สิ่งดีใหม่ๆ

ลายดอกพิกุล

ผ้ายกเมืองนคร “ลายดอกพิกุล” เป็นลวดลายที่เลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งเป็นดอกไม้ คือ ดอกพิกุล
เป็นผ้าทอมือด้วยกี่กระตุก “ผ้ายกเมืองนคร” เป็นชื่อเฉพาะ หมายถึง ผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดนครศรีธรรมราช
ที่ทอสืบกันมาแต่โบราณ ด้วยการทอยกเพิ่มลวดลายด้วยเส้นพุ่งพิเศษ ( Supplementary Weft )
ทําให้เกิดลายนูนบนผืนผ้า มีลายเชิงผ้าเป็นกรวยเชิงชั้นเดียวหรือกรวยเชิงซ้อนกันหลายชั้นและกรวยเชิงขนาน
กับริมผ้า โดยดัดแปลงลายอื่นมาเป็นลายกรวยเชิง วิธีการทอจะคัดเส้นยืนขึ้นลงเป็นจังหวะที่แตกต่างกัน
ตามลวดลายที่ต้องการแล้วใช้เส้นพุ่งพิเศษเข้าไป

ลายอัตลักษณ์จังหวัดนครราชสีมา สีทอง สีส้ม สีแดงอิฐ

การใช้ท่ายืนของคุณย่าโม มาออกแบบเป็นลายผ้า "ย่าโม" ท่ายืนถือดาบ มองด้านข้างเสมือนตัว K บ่งบอกถึงความแข็งแกร่งและมีรูปหัวใจ แสดงถึงความรักความสามัคคี K หันหน้าเข้าหากัน เป็น KO มาจาก Korat และสีเหลืองทองเป็นสีจากการผสมดอกดาวเรืองกับดอกสาร ซึ่งดอกดาวเรือง เป็นดอกไม้ประจำรัชกาลที่ 9 สื่อถึงความเจริญรุ่งเรือง ความก้าวหน้า และความสว่างไสว ดอกสาธรและต้นสาธร เป็นดอกไม้ และต้นไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา

ผ้ามุกนครพนม

ผ้ามุก นับว่าเป็นผ้าชั้นสูง ผู้ที่จะมีโอกาสได้สวมใส่ต้องเป็นภริยาของเจ้านายชั้นปกครองบ้านเมืองหรือเป็นข้าราชการพบเห็นข้าราชการครูของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวก็ทำเป็นชุดราชการผ้ามุก และนอกจากนั้นบุคคลสำคัญของประเทศภูฎานก็ใช้ผ้ามุกเป็นอาภรณ์สวมใส่ประดับกาย เป็นต้น ถือว่าผ้ามุกเป็นผ้าชั้นสูงก็เพราะจากความเชื่อที่เห็นเครื่องใช้ ลายมุกล้วนแต่เป็นเครื่องใช้ชั้นสูงมีความสำคัญในตัวเอง เช่น โต๊ะหมู่บูชาฝังมุก พานแว่นฟ้าฝังมุกพัดยศที่มีด้ามฝังลายมุก ฝักดาบเจ้าเมืองที่มีการฝังมุก เป็นต้น

ปูรณฆฏาศรีทวารวดี

ลาย “ปูรณฆฏาศรีทวารวดี”(ปู-ระ-นะ-คะ-ตา-สี-ทะ-วา-ระ-วะ-ดี) เป็นลายผ้าที่สื่อความหมายถึง
จังหวัดนครปฐมเป็นดินแดนอารยธรรมสมัยทวารวดีที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งสภาพแวดล้อม พืชพรรณ
ธัญญาหาร มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
๑) ลายหลัก คือ ลายหม้อน้้าปูรณฆฏะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์มงคลที่มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต
หมายถึง การกําเนิดชีวิตที่มีความสมบูรณ์ มั่งคั่ง โดยลวดลายดังกล่าวปรากฏอยู่บนเหรียญตราและ
ประติมากรรมประดับบนโบราณวัตถุสมัยทวารวดี
๒)ลายประกอบ คือกวางหมอบ อันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของความเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา